Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


          (UN News, 2013) ผลกระทบที่ตามมาคือในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกจะมี

          ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 70% จากปัจจุบัน ท าให้ประชากรโลกโดยเฉพาะ
          ประชากรที่อาศัยภายในเมืองเกิดความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสภาวะการขาด
          แคลนอาหารรวมไปถึงความไม่ปลอดภัยทางอาหารที่เกิดจากการปนเปื้อนจาก
          ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และกระบวนการขนส่ง ความท้าทายในการท าเกษตรกรรม

          เพื่อสร้างอาหารในอนาคตคือ พื้นที่เพาะปลูกธรรมชาติถูกจ ากัด การ
          เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
          แสดงให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตอาหารในอนาคต

          การเกษตรซึ่งมีบทบาทส าคัญต่อการด ารงชีพของมนุษย์ จึงมีแนวโน้มที่จะ
          ย้อนกลับมาอยู่ในเมือง  และปรากฏตัวอย่างในเมืองใหญ่หลายประเทศในโลก
          ตะวันตก เกิดกระแสการท าเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) เพื่อลด
          ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาพื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในเมือง เพื่อสร้าง
          อาหารปลอดภัย รวมไปถึงแนวทางการท าเกษตรกรรมบนอาคารและภายใน

          อาคารเพื่อรองรับช่วงเกิดภัยธรรมชาติ เกษตรกรรมเริ่มกลับมามีบทบาท
          ความส าคัญในพื้นที่เมืองหลังจากที่มีการตะหนักเรื่องการขาดแคลนอาหารที่
          จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้าโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป กลุ่มประเทศ

          ที่มีอัตราการบริโภคสูงกว่าประเทศที่ก าลังพัฒนา ซึ่งเหลือพื้นที่ไม่เพียงพอที่จะ
          ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรในเมือง จึงต้องการสร้างความมั่นคงและการเข้าถึง
          อาหารปลอดภัยให้แก่ประชาชนชาวเมือง


                 ในการที่จะท าให้เกษตรกรรมกลับมาอยู่ในเมือง นักผังเมืองควรมีส่วน
          ในการก าหนดพื้นที่เพื่อบริเวณเหล่านี้ ในระดับอาคารที่อยู่อาศัย อาคาร
          พาณิชย์ต่างๆ พื้นที่สาธารณะต่างๆ ผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบ สถาปนิก
          ภูมิสถาปนิก จะต้องเข้ามามีบทบาทกับกระแสหรือแนวโน้มข้างต้น

          นอกเหนือไปจากวิชาชีพเกษตรกรรม ดังแนวทางที่กลุ่มนักวิจัยจ า ก
          Department of Architectural Science ม ห าวิท ย าลั ย  Ryerson ใน
          Canada รวบรวมไว้ในหนังสือ Carrot City , Creating places for Urban
          Agriculture (Gorgolewski et al., 2011)  ซึ่งสอดคล้องกับ (พาสินี, 2557)

                                         2
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16