Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
ในประเทศไทยประมาณ 275,288 ไร่ หรือร้อยละ 3.7 ของพื้นที่ปลูกมันส�าปะหลังทั้งประเทศ และเป็น
มันส�าปะหลังพันธุ์แรกของไทยที่ได้รับการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 เป็นพันธุ์ที่ผลผลิตหัวสด และปริมาณแป้งในหัวสดสูง เหมาะส�าหรับ
เกษตรกรใช้ปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานมันเส้น หรือโรงงานแป้ง ส�าหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมต่างๆ
ที่ใช้แป้ง และใช้เป็นวัตถุดิบส�าหรับผลิตเอทานอล
ช่วงเวลาที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
ด้านเศรษฐกิจ
มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณแป้งในหัวสดสูง จึงเป็นวัตถุดิบเกรดดีของโรงงาน
อุตสาหกรรม ดังนั้นอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิเช่น อุตสาหกรรมแป้ง มันเส้น เอทานอล จึงนิยมน�า
หัวมันส�าปะหลังพันธุ์นี้ไปใช้ เนื่องจากสามารถผลิตแป้ง มันเส้น และเอทานอลได้มากกว่าเมื่อเทียบกับ
มันส�าปะหลังพันธุ์อื่น สิ่งนี้ส่งผลดีต่อทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร
ในภาคเกษตรมันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย 27.3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่
มันส�าปะหลังพันธุ์อื่นที่เกษตรกรปลูกอยู่มีปริมาณแป้งในหัวสดเฉลี่ย 23.0 - 25.0 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเมื่อ
เกษตรกรน�าผลผลิตไปขายจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 0.10 - 0.20 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 100 - 200 บาทต่อตัน
ด้านสังคม
ในปีเพาะปลูก 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันส�าปะหลังมากถึง 7.40 ล้านไร่ และมีจ�านวนครัวเรือน
เกษตรกรที่ปลูกมันส�าปะหลังรวม 476,356 ครัวเรือน โดยพันธุ์ห้วยบง 80 ซึ่งได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2553
นั้น เริ่มมีการกระจายพันธุ์ปลูกในปี 2554 โดยมีพื้นที่ปลูก 0.28 ล้านไร่ คิดเป็น 3.7 % ของพื้นที่ทั้งหมด และ
ก�าลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากล�าต้นสูง ไม่แตกกิ่ง สะดวกแก่การเก็บเกี่ยวและเก็บต้นพันธุ์เพื่อใช้
ปลูกต่อ โดยสามารถน�าไปปลูกในระยะถี่ขึ้น เนื้อหัวมีสีขาว ส่วนเปลือกหัวมีสีน�้าตาล เปอร์เซ็นต์ความงอก
และความอยู่รอดสูง ผลผลิตตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
หน้า 20 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์