Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                         คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University


                  ลักษณะประจ�าพันธุ์
                  ลักษณะเด่นของพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคราน�้าค้าง
            ล�าต้นสูง ประมาณ 200 - 230 เซนติเมตร เมล็ดมีสีส้มเหลืองและเป็นชนิดหัวแข็ง อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน
            โดยทั่วไปให้ผลผลิต ประมาณ 550-850 กิโลกรัมต่อไร่



               การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
                  1.  เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมขน SMEs และธนาคารเพื่อการเกษตรและ
            สหกรณ์ใช้เมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1 ปลูกเพื่อผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าร้อยละ 80 ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2530
                  2.  บริษัทเมล็ดพันธุ์ในประเทศและภาครัฐในประเทศและต่างประเทศในเอเชียเขตร้อนมากกว่า 20
            ประเทศ ส่งเสริมพันธุ์สุวรรณ 1 เผยแพร่และจ�าหน่าย รวมทั้งใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด

            และ Dr. Takumi Izuno ผู้เชี่ยวชาญโครงการข้าวโพดภูมิภาคเอเชียของศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลี
            นานาชาติ (CIMMYT) ได้ยกย่องพันธุ์สุวรรณ 1 ไว้ว่า "ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นพันธุ์ที่ใช้ในโครงการ
            ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของหลายประเทศในทวีปเอเชีย ทั้งนี้เพราะข้าวโพดพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ให้
            ผลผลิตสูงและสม�่าเสมอ นอกจากนั้น ยังเป็นพันธุ์มาตรฐานที่ให้ผลแน่นอนในการทดลองพันธุ์ของ
            องค์การระหว่างประเทศ ข้าวโพดของไทยติดอันดับ 1 ถึง 6 อยู่เสมอ"
                  3.  บริษัทเมล็ดพันธุ์ในประเทศและบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติในประเทศไทย รวมทั้งภาครัฐในต่างประเทศ

            ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ใช้พันธุ์สุวรรณ 1 รวมทั้งสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์
            (Kasetsart inbred line, Ki) เป็นฐานพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสม โดยใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมข้างหนึ่ง
            ในแบบเฮเทอโรซีส (heterotic pattern) ในการสร้างพันธุ์ลูกผสม และเป็นเชื้อพันธุกรรมในการปรับปรุง
            พันธุ์ต้านทานต่อโรคหลายชนิดโดยเฉพาะโรคราน�้าค้าง ซึ่งพันธุ์สุวรรณ 1 มีความต้านทานแบบแนวนอน

            (horizontal resistance)
                  4.  นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สุวรรณ 1 และความส�าคัญ
            ในการน�ามาใช้ผลิตข้าวโพดโดยเฉพาะในช่วงโรคราน�้าค้างระบาด และใช้เป็นเชื้อพันธุกรรมในการศึกษาวิจัย
            ด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดในปัญหาพิเศษและปริญญาโทและเอก


               ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

                  ปี พ.ศ. 2517 - ปัจจุบัน
                  พันธุ์สุวรรณ 1 ได้รับการรับรองเป็นพันธุ์มาตรฐานเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2517 แต่เมล็ดพันธุ์ได้เริ่ม
            แจกจ่ายให้กสิกรโดยเฉพาะในแหล่งใกล้เคียงไร่สุวรรณก่อนหน้านั้น 3-4 ปีแล้ว ตามข้อตกลงของโครงการ
            ร่วมมือในโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาตินั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีหน้าที่ท�างานวิจัย
            กรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่ทดสอบพันธุ์ทั้งระดับสถานีทดลองและระดับเกษตรกร และกรมส่งเสริมการเกษตร

            มีหน้าที่ขยายพันธุ์ดีจ�าหน่ายให้กสิกรเพราะในระยะแรกๆ นั้น ยังไม่มีบริษัทเมล็ดพันธุ์ท�าหน้าที่นี้ อย่างไรก็ตาม
            ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ในช่วงแรกนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยไร่สุวรรณ ผลิตเมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1
            ปีละประมาณ 300 ตัน กรมวิชาการเกษตรผลิตปีละประมาณ 100 ตัน และในปี พ.ศ. 2524 กรมส่งเสริม
            การเกษตรผลิตได้ประมาณ 1,850 ตัน เมื่ออุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2522
            บริษัท กรุงเทพอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ จ�ากัด เครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์จ�ากัด ได้สร้างโรงงานเมล็ดพันธุ์ของ
            เอกชนขึ้นที่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และได้เริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1 ปีละประมาณ 2,000 ตัน ในระยะแรกๆ

            และเพิ่มเป็นปีละประมาณ 4,000-5,000 ตัน ในระยะหลังๆ ซึ่งเป็นผลให้ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 แพร่กระจาย
            ไปอย่างกว้างขวางเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกร




            หน้า 22 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31