Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
มันส�ำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80
รองศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ *
รายละเอียดผลงาน
เป็นพันธุ์มันส�าปะหลังที่พัฒนาโดยความร่วมมือของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันส�าปะหลังแห่งประเทศไทย พันธุ์ใหม่นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ระยอง 5 และ
เกษตรศาสตร์ 50 ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยมีรหัสชื่อเดิมคือสายพันธุ์ MKUC 34-114-106 และเข้าสู่ขบวนการ
ปรับปรุงพันธุ์พืชโดยการคัดเลือกพันธุ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2540 และท�าการทดสอบพันธุ์ใน พ.ศ. 2541-2551
ในท้องที่ 13 จังหวัดส�าคัญที่มีพื้นที่ปลูกมันส�าปะหลังมาก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น ชลบุรี
ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ก�าแพงเพชร กาฬสินธุ์ สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี รวมจ�านวน
93 การทดลอง ผลการทดสอบพันธุ์พบว่า พันธุ์ห้วยบง 80 ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 5,027 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมี
ปริมาณแป้งในหัวเฉลี่ย 27.3% ทั้งนี้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยที่ได้สูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่เป็นพันธุ์ที่ปลูก
มากที่สุดในประเทศในขณะนี้ อยู่ 4% และมีปริมาณแป้งในหัวสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 อยู่เล็กน้อย
มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ได้รับการคุ้มครองสิทธิตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เป็น
ระยะเวลาตั้งแต่ 4 มกราคม 2553-3 มกราคม 2565 นอกจากนั้นพันธุ์ ห้วยบง 80 ยังมีเสถียรภาพของ
ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสูง สามารถปลูกได้ทั่วไปในเขตปลูกมันส�าปะหลัง สามารถสกัดแป้งจากหัวสด
ได้มาก แป้งมีสีขาวและมีความหนืดสูง เหมาะสมกับอุตสาหกรรมแป้งและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นอกเหนือไป
จากนั้นยังเป็นพันธุ์ที่งอกดี ล�าต้นสูงใหญ่ สามารถคลุมวัชพืชได้ดี ในปี พ.ศ.2554 พันธุ์ห้วยบง 80 มีพื้นที่ปลูก
* ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 19