Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                         คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University


            สมาคมการค้าอุตสาหกรรมแป้งมันส�าปะหลังไทย สมาคมการค้ามันส�าปะหลังไทย ส�านักงานคณะกรรมการ
            อาชีวศึกษา (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี) หัวหน้ากลุ่มชาวไร่มันส�าปะหลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
            สหกรณ์การเกษตร โรงงานแป้งมัน และเกษตรกรรายย่อย ต่างๆ ทั่วประเทศ

                  ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปี 2550 ต้นมันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 จ�านวนถึง 24,248,757 ล�า ได้กระจาย
            สู่เกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งล�าหนึ่งจะตัดเป็นท่อนปลูกได้ประมาณ 5 ท่อน แต่ละท่อนจะปลูกได้ 1 ต้น ดังนั้นใน

            6 ปีที่ผ่านมาได้ขยายพันธุ์แจกเกษตรกรปลูกได้ประมาณ 121 ล้านต้น หากเฉลี่ยแล้วเกษตรกรรายหนึ่งได้รับ
            ท่อนพันธุ์ 1,000 ล�า จะมีเกษตรกรกว่าหนึ่งแสนรายที่ได้รับพันธุ์ห้วยบง 60 ไปปลูก



               ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
                  มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และพันธุ์อื่นๆ ที่นิยมปลูก

            อยู่ 350-750 กิโลกรัม/ไร่ จะท�าให้ผลผลิต/ไร่มันส�าปะหลังสูงขึ้น ประกอบกับหัวมีปริมาณแป้งสูงขึ้น ท�าให้
            วัตถุดิบมีคุณภาพดี สามารถเปลี่ยนเป็นแป้งและเอทานอลได้สูงขึ้น ส่งผลให้
                  1.  แก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร หากราคามันส�าปะหลังเฉลี่ยที่ 2.40 บาท/กิโลกรัมหัวสด

            เกษตรกรผู้ปลูกมันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณไร่ละ 840-1,800 บาท ครัวเรือนหนึ่ง
            มีพื้นที่ปลูกมันส�าปะหลัง ประมาณ 20 ไร่ จะมีรายได้ครัวเรือนละ 16,800-36,000 บาท

                  2.  เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมแป้ง
            และอุตสาหกรรมเอทานอล เนื่องจากพันธุ์ห้วยบง 60 มีแป้งในหัวเฉลี่ย 25.4% ในขณะที่พันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกร
            ปลูกกันอยู่มีแป้งในหัวเฉลี่ย 23-25% เมื่อใช้หัวของพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นวัตถุดิบย่อมผลิตแป้งมันเส้นหรือ

            เอทานอลได้สูงขึ้น ย่อมท�าให้ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมมันส�าปะหลังของไทยสูงขึ้น
                  3.  เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมันส�าปะหลังเป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งในการผลิตเอทานอล

            โดยใช้เอทานอลจากมันส�าปะหลังเพื่อผสมกับน�้ามันเบนซินร้อยละ 10 20 และ 85 จะท�าให้ลดการใช้น�้ามัน
            เบนซินลง และใช้เป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซโซฮออล์ 91 95 E20 และ E85 ช่วยลดการพึ่งพาน�้ามันจากต่างประเทศ
            เพื่อให้เศรษฐกิจการเกษตรของไทยจะมีความมั่นคงขึ้น



































            หน้า 18 ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27