Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นพันธุ์มันส�าปะหลังที่พัฒนาโดยความร่วมมือของนักวิชาการจาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันส�าปะหลังแห่งประเทศไทย พันธุ์นี้เกิดจากการ
ผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ท�าการคัดเลือกพันธุ์ตั้งแต่
พ.ศ. 2535 - 2540 และทดสอบพันธุ์ในท้องถิ่น โดยท�าการทดสอบทั้งหมด 30 การทดลอง ใน 10 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี กาญจนบุรี ขอนแก่น สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และระยอง
ปัจจุบันพันธุ์นี้มีพื้นที่ปลูกในประเทศไทย 658,489 ไร่ หรือร้อยละ 8.9 ของพื้นที่ปลูกมันส�าปะหลังทั้งประเทศ
คุณสมบัติและลักษณะเด่นของมันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60
1. ให้ผลผลิตหัวสดและหัวแห้งสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ประมาณ 8-10 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ผลผลิต
หัวสดเฉลี่ย 5.7 ตัน/ไร่
2. ปริมาณแป้งในหัวเฉลี่ย 25.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เล็กน้อย
3. ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสูง ท�าให้ผลผลิตแป้งต่อพื้นที่สูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ประมาณ
8 เปอร์เซ็นต์
4. มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง ที่ละลายได้ในน�้า (เช่น น�้าตาล) อยู่ต�่า ซึ่งจะท�าให้ได้ปริมาณแป้ง
ในหัวสูง เพราะการมีน�้าตาลมาก จะท�าให้แป้งที่สกัดได้จากหัวมันส�าปะหลังลดลง
5. แป้งมีความหนืดสูง สามารถน�าไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลายชนิด
6. ท่อนพันธุ์งอกดี เก็บไว้ได้นาน ลักษณะล�าต้นสูงใหญ่ แตกกิ่งปานกลาง เหมาะกับปลูกในไร่เกษตรกร
7. ต้านทานต่อโรคใบไหม้ (CBB) และใบจุดปานกลาง
ซึ่งหลังจากเสร็จการทดสอบ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และมีการน�าเสนอการประชุมวิชาการครั้งที่ 41
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2546 ได้รับรองพันธุ์เป็นพันธุ์พืชรับรองของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546 และได้ขอจดทะเบียนรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น
ด้านเทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระ 25 ปี สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เมื่อ 29 ตุลาคม 2547 และที่ส�าคัญที่สุดคือ มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์
คิดค้นยอดเยี่ยมประจ�าปี 2549 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากส�านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์
มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นมันส�าปะหลังที่มีผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งในหัวสดสูงเหมาะ
ส�าหรับเกษตรกรใช้ปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานมันเส้น หรือโรงงานแป้ง ส�าหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรม
ต่างๆ (ที่ใช้แป้ง) และใช้เป็นวัตถุดิบส�าหรับผลิตเอทานอล
การน�าพันธุ์ห้วยบง 60 เผยแพร่สู่เกษตรกรนั้น ได้เริ่มเมื่อตุลาคม 2545 โดยได้รับการสนับสนุนและ
ด�าเนินงานจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันส�าปะหลังแห่งประเทศไทย ที่เอื้อเฟื้อช่วยขยายพันธุ์และจัดซื้อพันธุ์
จากแหล่งขยายพันธุ์ต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณในการกระจาย และสนับสนุนงบประมาณให้
หน่วยงานต่างๆ มาร่วมมือในการขยายและกระจายพันธุ์มันส�าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 สู่เกษตรกร ซึ่งได้แก่
สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันส�าปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันส�าปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 17