Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Faculty of Agriculture, Kasetsart University
2. ผลผลิตของพันธุ์ สุวรรณ 4452 เปรียบเทียบกับพันธุ์ส่งเสริม
จากผลการทดสอบพันธุ์ในแหล่งปลูกข้าวโพดต่างๆ ในช่วง 4 ปี (พ.ศ. 2543-2546) พบว่า พันธุ์สุวรรณ
4452 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,151-1,430 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 3851 (21.7%), ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ CP-DK
888 (27.4%), ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์นครสวรรค์ 72 (23.8%) และพันธุ์สุวรรณ 1 (รอบคัดเลือกที่ 11, 12 และ
13) (38.4%) จากจ�านวน 118 (4 ปี), 76 (4 ปี), 49 (3 ปี) และ 29 (3 ปี) การทดลอง ตามล�าดับ
3. เสถียรภาพในการให้ผลผลิตของพันธุ์ สุวรรณ 4452 ในสภาพแวดล้อมต่างๆ
ผลการตรวจสอบเสถียรภาพ (stability) ในการให้ผลผลิตของพันธุ์สุวรรณ 4452 ในสภาพแวดล้อมต่างๆ
รวม 34 การทดลอง เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2544-2545) โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์รีเกรซชัน (regression
coefficient, b) และค่าเบี่ยงเบนจากรีเกรซชัน (deviations from regression, S d) ตามวิธีการของ Eberhart
2
and Russell (1966) พันธุ์ที่มีเสถียรภาพต้องให้ค่า b = 1.0 และให้ค่า S d = 0 พันธุ์ที่ให้ค่า b < 1 และ b > 1
2
เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เลวและดี ตามล�าดับ พบว่า พันธุ์ สุวรรณ 4452 ให้ค่า b อยู่ในช่วง
(0.83 - 1.12) แสดงให้เห็นว่า พันธุ์นี้มีแนวโน้มสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เลวถึงดี
4. ลักษณะทางเกษตรของพันธุ์ สุวรรณ 4452 เปรียบเทียบกับพันธุ์ส่งเสริม
ผลการศึกษาลักษณะทางเกษตรต่างๆ ในสภาพแวดล้อมต่างๆ รวม 49 การทดลอง ในปี พ.ศ. 2544-
2546 พบว่า พันธุ์ สุวรรณ 4452 มีลักษณะทางเกษตรส่วนใหญ่ดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ มีอายุวันสลัดละออง
เกสร 50% 54 วัน วันออกไหม 50% 54 วัน ความสูงต้น 217 ซม. ความสูงฝัก 130 ซม. ต้นล้ม 5.8%
ต้นหัก 5.1% ต้านทานโรคราน�้าค้าง และโรคทางใบโดยเฉพาะโรคราสนิม และโรคใบไหม้แผลเล็ก แต่ทนทาน
ต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ มีฝักเน่า 5.9% จ�านวนฝัก/ต้น 95.3% และเปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด 81.9% นอกจากนี้
พันธุ์ สุวรรณ 4452 ยังมีลักษณะใบตั้ง สีเขียวเข้ม ล�าต้นและช่อดอกสีม่วง เมล็ดสีส้มเหลืองหัวแข็ง มี 16 แถว
มีจ�านวนเมล็ด 38 เมล็ด/แถว น�้าหนัก 1,000 เมล็ด 310.14 กรัม จากผลการทดสอบความต้านทานโรค
ราน�้าค้างในแปลงระบาดเทียมในปี พ.ศ. 2544 และ 2545 พบว่า พันธุ์ สุวรรณ 4452 เป็นโรคราน�้าค้างเฉลี่ย
1.48% น้อยกว่าพันธุ์สุวรรณ 3851 ซึ่งเป็นโรคราน�้าค้าง 2.05% และจากการประเมินระดับการเกิดโรคราสนิม
ตามธรรมชาติในการทดสอบพันธุ์ข้าวโพดไร่ที่ดีเด่นในไร่กสิกร ที่บ้านเกาะลอย อ�าเภอด่านขุนทด จังหวัด
นครราชสีมา ในปลายฤดูฝน พ.ศ. 2545 พบว่า พันธุ์สุวรรณ 4452 ต้านทานในระดับดีมาก และจากการ
ประเมินระดับการเกิดโรคกาบและใบไหม้ (banded leaf and sheath blight, Rhizoctonia solani)
ตามธรรมชาติ ในการสอบพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมกึ่งการค้าในไร่กสิกร ที่บ้านคลองเดื่อ ต�าบลหมูสี
อ�าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปลายฤดูฝน พ.ศ. 2545 พบว่า พันธุ์สุวรรณ 4452 ต้านทานปานกลาง
นอกจากนี้ พันธุ์สุวรรณ 4452 ยังต้านทานต่อโรคไวรัสใบด่างอ้อย (sugarcane mosaic virus) ที่ระบาด
ตามธรรมชาติ ในข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ ที่จ�าหน่ายเป็นการค้า ในฤดูแล้ง ปี 2547 ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่าง
แห่งชาติ โดยมีเปอร์เซ็นต์ต้นเป็นโรค 3.36% ในขณะที่พันธุ์สุวรรณ 3851 และพันธุ์ CP-DK 888 มีต้นเป็นโรค
ร้อยละ 22.58 และ 32.43 ตามล�าดับ
จากการประเมินความทนทานแล้งของข้าวโพดลูกผสมจ�านวน 36 พันธุ์ โดยให้ขาดน�้าเมื่อข้าวโพด
ออกไหมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า พันธุ์สุวรรณ 4452 ให้ผลผลิตในสภาพแล้ง และในสภาพให้น�้าปกติมากกว่า
พันธุ์นครสวรรค์ 72 อย่างมีนัยส�าคัญ โดยให้ผลผลิตในสภาพแล้งและสภาพปกติ 765 และ 1,511 กก./ไร่
ตามล�าดับ ในขณะที่พันธุ์ CP-DK 888 และนครสวรรค์ 72 ให้ผลผลิตในสภาพแล้ง 366 และ 422 กก./ไร่
และในสภาพปกติ 1,322 และ 1,108 กก./ไร่ ตามล�าดับ
ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 25