Page 199 -
P. 199
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 181
ของอากาศเหนือแผ่นดินจึงเกิดลมพัดจากแผ่นดินออกสู่ทะเล ลมบกจะมีก าลังอ่อนกว่าลมทะเล
เพราะความแตกต่างของอุณหภูมิในเวลากลางคืนระหว่างแผ่นดินและทะเลน้อยกว่าในเวลาวัน
(ภาพที่ 7.13)
ความดันอากาศ
(pressure surfaces)
อากาศอุ่น อากาศเย็น
แผ่นดิน
(warm) (cool)
(land) ลมทะเล (Sea Breeze) น ้าทะเล (water)
ความดันอากาศ
(pressure surfaces)
อากาศเย็น อากาศอุ่น
(cool) (warm)
แผ่นดิน
(land) ลมบก(Land Breeze) น ้าทะเล
(water)
ภาพที่ 7.13 การเกิดลมทะเล (Sea Breeze) และลมบก (Land Breeze)
ที่มา : ดัดแปลงจาก Ahrens (1988)
3. ลมภูเขาและลมหุบเขา (Mountain and Valley Breezes) ในเวลากลางวันบริเวณ
ภูเขาและลาดเขาได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าหุบเขา อากาศในหุบเขาจึงมีอุณหภูมิต ่า
กว่าลาดเขาแต่มีความดันสูงกว่า อากาศจึงไหลขึ้นจากหุบเขาไปตามลาดเขาเรียกว่า ลมหุบเขา
(Valley Breezes) ในทางกลับกันเวลากลางคืนบริเวณลาดเขาคายความร้อนออกมาเร็ว อากาศ
บริเวณลาดเขาจึงมีอุณหภูมิต ่ากว่าบริเวณหุบเขาและมีความดันสูงกว่า อากาศจึงไหลลงมาจากลาด
เขาสู่หุบเขา เรียกว่า ลมภูเขา (Mountain Breezes) โดยปกติลมภูเขาแรงกว่าลมหุบเขา (ภาพที่ 7.14)