Page 196 -
P. 196
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
178 การถ่ายโอนพลังงานและการหมุนเวียนของอากาศ
ระดับความสูงของอากาศดังกล่าวไม่เท่ากัน บริเวณที่มีอากาศอุ่น อากาศจะกระจายขึ้นไปได้สูงเป็น
สันเนิน (ridge) บริเวณที่มีอากาศเย็น อากาศจะรวมกันอยู่ค่อนข้างหนาแน่น จึงมีลักษณะคล้ายร่อง
เนิน (trough) ดังภาพที่ 7.10
อากาศเย็น
ระดับความสูง อากาศอุ่น ตะวันตก เหนือ
(m)
ใต้ ตะวันออก
ภาพที่ 7.10 บริเวณที่มีอากาศอุ่นและบริเวณที่มีอากาศเย็น ซึ่งมีความดันของอากาศเท่ากัน จะมี
ระดับความสูงจากพื้นดินไม่เท่าจึงเกิดสันเนิน (ridge) และร่องเนิน (trough)
ที่มา : ดัดแปลงจาก Ahrens (1988)
ความต่อเนื่องของลม (continuity of wind) เนื่องจากชั้นบรรยากาศต่อเนื่องกัน
ดังนั้นในบริเวณใกล้ผิวโลกจึงมีความต่อเนื่องของลมแต่ทิศทางของลมจะไม่ขนานกับเส้นชั้นความ
ดันอากาศ แต่จะเคลื่อนที่ตัดเส้นชั้นความดันอากาศ จากบริเวณที่มีความดันอากาศสูงไปยังบริเวณ
ที่มีความดันอากาศต ่าทั้งแนวนอนและแนวตั้ง และเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน จากภาพที่ 7.11 ผิวพื้นที่
มีความดันอากาศต ่า จะมีอากาศไหลเข้าศูนย์กลางตามกฎมือขวา อากาศจะไหลขึ้น (ในซีกโลก
เหนือจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา) ทิศทางของลมจะเป็นไปตามทิศของหัวแม่มือ ตอนบนของบริเวณที่
มีความดันอากาศต ่า อากาศจะแผ่กระจายออก (divergence) ส าหรับบริเวณที่มีความดันอากาศสูง
จะมีลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ อากาศจะจมลงและเคลื่อนที่
ไปยังบริเวณที่มีความดันอากาศต ่ากว่า การลอยขึ้นตามแนวดิ่งท าให้เกิดการขยายตัวและเย็นตัวลง
อย่างอะเดียแบติก (adiabatic) และเป็นสาเหตุของการเกิดเมฆและฝนหรือทางกลับกัน การจมลง
ของมวลอากาศจะท าให้อากาศอุ่นขึ้นและยากต่อการเกิดการควบแน่น ซึ่งจะไม่เกิดเมฆและฝน แต่
อากาศแจ่มใส