Page 193 -
P. 193

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                        อุตุนิยมวิทยา  175








                             7.2.2  การเคลื่อนที่ของอากาศ

                                    1.  ลมชั้นบน (Geostrophic Wind)


                                       ลมบริเวณบรรยากาศตอนบนเป็นลมที่พัดในชั้นบรรยากาศที่ไม่มีความเสียด

                       ทาน (non frictional layer) โดยทั่วไปมีความสูงมากกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป ลมชั้นบนนี้จึงอยู่ที่ระดับ

                       ความสูงมากกว่า 1,000 เมตร มีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ลมชั้นบนนี้อาจเริ่มต้นจากอากาศ
                       ที่มีความดันสูงไปยังอากาศที่มีความดันต ่า (จาก 908 mbar ไปยัง 904 mbar) อากาศจะได้รับแรง

                       เกรเดียนท์ของความดันอากาศ  (PGF)  จึงมีความเร่งข้ามเส้นระดับความดันเท่ากันหรือเส้นชั้น

                       ความดัน (isobaric lines) จากบริเวณความดันอากาศสูงไปยังบริเวณความดันอากาศต ่า เมื่ออากาศ
                       เคลื่อนที่เร็วขึ้นแรงโคริออลิส  (CF)  จะมีค่าเพิ่มขึ้น  ท าให้ทิศทางของมวลอากาศเบี่ยงเบนไป

                       ทางขวาจนถึงจุดที่แรงโคริออลิส (CF) สมดุลกับแรงเกรเดียนท์ของความดันอากาศ (PGF) จะได้
                       แรงลัพธ์เป็น (แรงที่จุด 5 ในภาพที่ 7.6) ลมชั้นบน (geostrophic wind) มาจากค าว่า geo = earth;


                       strophic = turning หมายถึง ลมที่มีทิศทางเบี่ยงเบนไปโดยโลก ซึ่งโลกเป็นตัวการส าคัญที่ท าให้ลม
                       เปลี่ยนทิศทาง ลมชั้นบนจะมีทิศทางขนานกับเส้นชั้นความดันอากาศ



                                                                เหนือ
                                                                (N)  LOW


                                                                            ลมชั้นบน

                           ตะวันตก (W)                                      (geostrophic    ตะวันออก

                                                                            wind)           (E)




                                                             HIGH


                                                      ใต้ (S)


                                             ภาพที่  7.6  การเกิดลมชั้นบนในซีกโลกเหนือ

                                                        ที่มา  :  ดัดแปลงจาก Ahrens  (1988)


                                    2. ลมหมุนวน (Cyclonic and anticyclonic wind)


                                       ลมที่พัดโดยรอบบริเวณที่มีความดันอากาศต ่าและบริเวณที่มีความดันอากาศ

                       สูง จะได้รับอิทธิพลของแรงเข้าสู่ศูนย์กลางกระท าต่อมวลอากาศดังกล่าว ลักษณะการเคลื่อนที่ของ
                       มวลอากาศจึงคล้ายคลึงกับลมตอนบนซึ่งอยู่สูงจากชั้นความเสียดทาน  แต่ต่างกันที่ลมหมุนวนมี
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198