Page 195 -
P. 195
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 177
ทิศทางของลมผิวพื้นจะมีทิศตรงกันข้ามกับทิศทางของแรงเสียดทาน ผลของ
แรงเสียดทานจะท าให้อัตราเร็วของลมผิวพื้นบริเวณที่มีความดันอากาศต ่า มีทิศทางเบนเข้าสู่
ศูนย์กลาง ขณะที่บริเวณที่มีความดันอากาศสูงมีทิศทางเบนออกจากศูนย์กลาง (ภาพที่ 7.8)
F
ทิศทางลม
ลม
PGF CF CF
PGF
F ทิศทางลม
ภาพที่ 7.8 ทิศทางของลมในชั้นอากาศที่มีความเสียดทาน
ที่มา : ดัดแปลงจาก Ahrens (1988)
การจมลงของกลุ่มอากาศและการเคลื่อนที่ขึ้นของกลุ่มอากาศทางซีกโลกเหนือ บริเวณที่มีความดัน
อากาศต ่า กลุ่มอากาศจะหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางแล้วลอยขึ้นจากนั้นจะแผ่กระจายออก
(divergence) ขณะที่บริเวณที่มีความดันอากาศสูง กลุ่มอากาศจะหมุนทวนเข็มนาฬิกากระจาย
ออกไปรอบด้าน กลุ่มอากาศตอนบนจะพุ่งเข้ามารวมกัน (convergence) แล้วจมลงสู่บริเวณที่มี
ความดันอากาศสูง (ภาพที่ 7.9)
Diverge Converge
nce nce
Surface Map
ภาพที่ 7.9 การเกิดลมสภาวะแวดล้อมและการเคลื่อนที่อากาศขึ้นลงซีกโลกภาคเหนือ
ที่มา : ดัดแปลงจาก Ahrens (1988)
บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง อากาศจะมีความหนาแน่นต ่าจึงมีอากาศเบาบางกว่าบริเวณ
ที่มีอุณหภูมิต ่า เมื่อพิจารณาบริเวณที่อากาศอุ่นและอากาศเย็นที่มีความดันเท่ากัน บริเวณนั้นจะมี