Page 188 -
P. 188

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

               170    การถ่ายโอนพลังงานและการหมุนเวียนของอากาศ









               กลับกัน เมื่อกลุ่มอากาศถูกท าให้จมลงความดันของอากาศโดยรอบท าให้กลุ่มอากาศมีขนาดลดลง
               และอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อกลุ่มอากาศขยายตัวและเย็นตัวลงหรือถูกกดดันให้มีขนาดเล็กลงและร้อน

               ขึ้นโดยไม่มีการรับหรือคายความร้อนหรือแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศโดยรอบ  เรียก
               กระบวนการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่า กระบวนการอะเดียแบติก (adiabatic process) อากาศที่จมตัวลง
               และร้อนขึ้นจะมีศักยภาพในการรับไอน ้าได้มากขึ้น เพราะอากาศร้อนมีศักยภาพในการรับปริมาณ


               ไอน ้าถึงระดับอิ่มตัวมากกว่าอากาศเย็น  การจมลงของอากาศจึงเป็นการยับยั้งการควบแน่น
               ตลอดจนการเกิดเมฆและฝน ในทางตรงกันข้าม อากาศที่ลอยขึ้นและเย็นลงจะมีศักยภาพในการ

               รับปริมาณไอน ้าที่ระดับอิ่มตัวลดลง  ดังนั้นไอน ้าในอากาศปริมาณไม่มากนัก  เมื่อลอยขึ้นไปจะมี
               โอกาสอิ่มตัวด้วยไอน ้าได้ง่ายและเป็นการช่วยเสริมการก่อตัวของเมฆและฝน


                             พฤติกรรมด้านความดันของอากาศภายหลังจากการเพิ่มอุณหภูมิหรือเพิ่มมวล
               อากาศหรือทั้งสองกรณีเข้าไปในบริเวณจ ากัดจะท าให้ความดันอากาศเพิ่มขึ้น  ความสัมพันธ์

               ดังกล่าวเป็นพื้นฐานที่ส าคัญทางอุตุนิยมวิทยาในการจ าแนกบริเวณความดันอากาศต ่าและบริเวณ
               ความดันอากาศสูง  ความแตกต่างของความดันอากาศในแนวราบท าให้เกิดแรงกระท าต่ออากาศ
               บริเวณความดันอากาศสูงไหลไปยังบริเวณที่มีความดันอากาศต ่ากว่า           เรียกแรงนี้ว่า

               แรงเกรเดียนท์ของความดันอากาศ (pressure gradient force) การใช้แรงเกรเดียนท์ของความดัน

               อากาศเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างอากาศที่อยู่ในระดับสูงเท่ากัน แต่มีแรงดันของอากาศแต่
               ละพื้นที่แตกต่างกัน
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193