Page 201 -
P. 201
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 183
7.3 การหมุนเวียนของมวลอากาศ
ลมที่พัดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในระดับโลก (Global scale) มักมีรูปแบบที่เกิดขึ้น
คล้ายกัน กล่าวคือ เป็นลมที่มีค่าทิศทางเฉลี่ยในช่วงเวลาที่ยาวนาน โดยทั่วไปเรียกลมเหล่านี้ว่า
การหมุนเวียนของอากาศ (General Circulation) การหมุนเวียนของอากาศเป็นการเคลื่อนที่โดย
เฉลี่ยของปรากฏการณ์จริงในแต่ละเวลาและแต่ละพื้นที่ของการเคลื่อนที่ของอากาศ บางพื้นที่อาจ
มีความผันแปรต่างไปจากค่าเฉลี่ยเหล่านี้บ้าง ปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ คือ
1. ผิวโลกได้รับความร้อนไม่เท่ากัน
2. การหมุนของโลกท าให้ทิศทางลมเบี่ยงเบน
3. แรงเสียดทานของผิวโลกต้านทานการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ
7.3.1 การหมุนเวียนของอากาศ
แนวคิดส าคัญที่ใช้อธิบายการหมุนเวียนของอากาศ
1. แบบจ าลองเซลล์เดียว (single-cell model) จอร์จ แฮดเลย์ (George Hadley) นัก
อุตุนิยมวิทยาชาวอังกฤษ เสนอแนวคิดอย่างง่ายเพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของมวลอากาศระดับโลก
เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการอธิบายการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งเป็นแบบแผนที่ซับซ้อน เกณฑ์
ส าคัญของแบบจ าลองเซลล์เดียวของการหมุนเวียนของอากาศรอบโลก มีข้อก าหนดดังนี้
1) ผิวโลกเรียบสม ่าเสมอ
2) ไม่มีความแตกต่างระหว่างผิวน ้าและผืนแผ่นดิน กล่าวคือ มีเพียงอย่างใด
อย่างหนึ่ง ซึ่งจะท าให้ผิวน ้าไม่มีความแตกต่างของการคายน ้าและดูดซับความร้อนระหว่างแผ่นดิน
กับทะเล
3) ดวงอาทิตย์อยู่คงที่เหนือศูนย์สูตร (ไม่มีฤดูกาล)
4) โลกไม่หมุน (ไม่มีแรงบิดจากการหมุนของโลก)
แรงที่มีอิทธิพลมากที่สุดของการหมุนเวียนของอากาศ คือ แรงเกรเดียนท์ของ
ความดันอากาศ ตามภาพที่ 7.16 ความร้อนจ านวนมหาศาลจะเป็นตัวการส าคัญที่ท าให้เกิดการ
หมุนเวียนของอากาศในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้