Page 204 -
P. 204

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

               186    การถ่ายโอนพลังงานและการหมุนเวียนของอากาศ








                             (3) แถบความดันอากาศต ่าใกล้ขั้วโลก  (Polar  low  pressure  or  Polar  front)

               เนื่องจากอากาศใกล้ผิวพื้นจากเส้นรุ้งม้า บางส่วนจะไหลไปยังขั้วโลก และถูกท าให้เบนไปทางทิศ

               ตะวันออก  (ด้วยแรงโคริออลิส)  ท าให้เกิดลมแน่ทิศ  (Prevailling  westeries  wind)  มาจากทิศ
               ตะวันตก ในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจาก 30 องศาเหนือถึง 60 องศาเหนือ (ประมาณจากจีนไป

               ไซบีเรีย) และลมแน่ทิศมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากละติจูด 30 องศาใต้ถึง

               ละติจูด 60 องศาใต้ เป็นลมตะวันตกและเป็นลมที่มีก าลังแรงไม่แน่นอน ขึ้นไปปะทะกับอากาศที่
               เคลื่อนลงมาจากขั้วโลก  การปะทะกันของสองมวลอากาศที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันจะไม่เกิดการ
               ผสมกันในทันที  แต่จะแบ่งแยกกันด้วยแนวเขตปะทะที่เรียกว่า  แนวปะทะขั้วโลก  (Polar  front)

               บริเวณที่อากาศรวมตัวกัน และยกตัวสูงขึ้นจะเกิดพายุในเขตอบอุ่น อากาศบางส่วนที่ลอยขึ้นไปจะ

               ไหลกลับไปยังเส้นรุ้งม้า เส้นละติจูดที่ 30 องศาเหนือและ 30 องศาใต้ เซลล์ (cell) ในละติจูดกลางนี้

               เรียกว่า เฟอร์เรลเซลล์ (Ferrel Cell) ดังภาพที่ (7.18) ตามชื่อนักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันผู้เสนอ
               แนวคิดนี้

                                                         60  N        Ferrel cell
                                                           0

                                                                        0
                                                                     30  N

                                                                       0
                                                                      0  N





                            ภาพที่  7.18  การหมุนเวียนของอากาศในวงจรเฟอร์เรล (Ferrel Cell)



                             (4)  แถบลมตะวันออกจากขั้วโลก  (Polar  easteries)  เมื่อพิจารณาจาก

               แนวปะทะอากาศขั้วโลกไปทางขั้วโลก อากาศเย็นจากขั้วโลกที่ไหลมาจากบริเวณความดันอากาศสูง

               ที่ขั้วโลก (polar high) จะถูกเบนทิศทางโดยแรงโคลริออลิสให้ไปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ซีก

               โลกเหนือ) และตะวันออกเฉียงใต้ในซีกโลกใต้จึงเกิดแถบลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศ
               ตะวันตก เรียกว่า แถบลมตะวันออกจากขั้วโลก (Polar easteries) ในฤดูหนาว อากาศเย็นจากขั้วโลก

               เคลื่อนที่มาถึงเขตละติจูดกลางและเขตกึ่งเขตร้อน  อากาศทั้งสองบริเวณจะปะทะกัน  จึงท าให้
               อากาศบางส่วนลอยสูงขึ้นและไหลกลับไปยังขั้วโลกตามแนวทิศของลมตะวันตกไปตะวันออก


               (westerly) ซึ่งเกิดตอนบนของชั้นบรรยากาศ (ตอนล่างเป็น easteries) จนถึงขั้วโลกจะค่อยๆ จมลง
               อย่างช้าๆ และวนกลับไปที่แนวปะทะอากาศขั้วโลก (Polar Front) ซึ่งครบวงจรโพลาร์เซลล์ (Polar
               Cell) ก าลังไม่แรง (ภาพที่ 7.19)
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209