Page 202 -
P. 202

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

               184    การถ่ายโอนพลังงานและการหมุนเวียนของอากาศ











                                                  อากาศเย็น









                    เซลล์พาความร้อน



                                                 อากาศร้อน





                                                    อากาศเย็น

                     ภาพที่  7.16  การหมุนเวียนของอากาศตามทฤษฎีแบบจ าลองเซลล์เดียวของแฮดเลย์

                                 ที่มา  :  ดัดแปลงจาก Ahrens  (1988)




                             2. แบบจ าลองรวมเซลล์  (Combined  Cell  Model)  เนื่องจากโลกมีการหมุนรอบ
               ตัวเองและมีความแตกต่างของการคายและดูดซับความร้อนของผิวโลก นอกจากนี้ผิวโลกมีความ

               ขรุขระไม่ราบเรียบ  ดังนั้นจึงพบว่าแต่ละพื้นที่บนผิวโลกมีการหมุนเวียนของอากาศต่างกันซึ่ง
               สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 แถบ เรียกแบบจ าลองนี้ว่า แบบจ าลองรวมเซลล์ (Combined-Cell


               Model) แต่มีข้อจ ากัดที่ก าหนดให้ผิวพื้นเป็นผิวน ้าเพียงอย่างเดียวโดยแบ่งเขตของการหมุนเวียน
               ของอากาศดังนี้


                             (1) แถบความดันอากาศต ่าบริเวณศูนย์สูตร (Equatorial belt of low pressure or


               Doldrums) เป็นบริเวณที่รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากที่สุด อากาศบริเวณนี้จะมีอุณหภูมิสูงและ
               มีความดันต ่ากว่าบริเวณอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจมีอุณหภูมิต ่ากว่ากันเพียงเล็กน้อยและมีความ
               ดันของอากาศสูงกว่าเพียงเล็กน้อยเช่นกัน  จึงมีแรงเกรเดียนท์ของความดันอากาศค่อนข้างอ่อน

               ลมค่อนข้างสงบหรือเบาบางลักษณะเช่นนี้เรียกว่า เขตลมสงบ (Doldrums) การเดินเรือสมัยโบราณ

               ไม่สะดวก  โดยปกติอากาศบริเวณเขตศูนย์สูตรจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง  อากาศอุ่นจะลอยขึ้นไป
               ควบแน่นเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cb) พร้อมกับปลดปล่อยความร้อนแฝงของการควบแน่นจ านวน

               มหาศาล ความร้อนที่คายออกมาท าให้อากาศแห้งลอยขึ้นทิ้งละอองน ้ารวมตัวกันเป็นเมฆ ช่วยให้

               การหมุนเวียนของอากาศเป็นไปตามลักษณะแฮดเลย์เซลล์ (Hadley Cell) กล่าวคือ อากาศที่ลอย
               ขึ้นถึงชั้นโทรโปพอสจะไม่สามารถพุ่งผ่านขึ้นไปยังชั้นสตราโตสเฟียร์ แต่จะถูกผลักดันด้วยกระแส
               ลมชั้นบนที่มีความเร็วสูง  อากาศดังกล่าวจึงไหลตามแนวนอนขึ้นไปยังละติจูดที่สูงขึ้นหลังจากนั้น
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207