Page 125 -
P. 125
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
116 บทที่ 6
เปน θ (เมื่อ i คือสาร i เปนตน) และเศษสวนของที่วางจากการปกคลุมบนพื้นผิวมีคาเทากับหนึ่งลบ
i
ดวยผลรวมของเศษสวนของการปกคลุมบนพื้นผิวของสารตางๆ คือ 1 – ∑θ
i
i
การตั้งสมมุติฐานของแตละไอโซเทอรมมีจุดประสงคที่จะทําใหงายตอการศึกษา และ
สอดคลองกับการทดลอง ดังนั้นไอโซเทอรมแตละแบบจะขึ้นกับระบบของการดูดซับ และสภาวะ
ของระบบ เชน ชวงของความดัน เปนตน และสิ่งสําคัญคือ การนําไอโซเทอรมของการดูดซับมาเพื่อ
อธิบายปฏิกิริยาที่มีตัวเรงเปนของแข็ง ในที่นี้จะกลาวถึงไอโซเทอรมที่นิยมใชกัน 3 แบบ คือ ไอโซ
เทอรมแลงเมียร (Langmuir isotherm) ไอโซเทอรมฟรอยดลิช (Freundlich isotherm) และไอโซ
เทอรมเทมคิน (Temkin isotherm)
6.3 ไอโซเทอรมแลงเมียร (Langmuir Isotherm)
ไอโซเทอรมแลงเมียรเปนไอโซเทอรมของการดูดซับ (adsorption isotherm) บนพื้นผิวของ
ตัวดูดซับ (adsorbent) ที่เปนของแข็งในรูปแบบที่งาย และคิดมาจากสมมุติฐาน 3 ขอ คือ
1. การดูดซับเปนการดูดซับบนพื้นผิวของตัวถูกดูดซับเพียงชั้นเดียว (monolayer
coverage)
2. ทุกตําแหนงบนพื้นผิวของตัวดูดซับจะเหมือนกัน (equivalent) และมีพื้นผิวที่สม่ําเสมอ
(uniform) หรืออาจกลาวไดวาตัวดูดซับมีพื้นผิวที่แบนราบ (flat)
3. ความสามารถในการดูดซับบนพื้นผิว ณ ตําแหนงใดๆ ไมขึ้นกับการปกคลุมของ
ตําแหนงขางเคียง ไมวาตําแหนงขางเคียงจะมีหรือไมมีตัวถูกดูดซับปกคลุมบนพื้นผิวนั้นก็ตาม
จากสมมุติฐานของไอโซเทอรมแลงเมียรดังกลาว จะนําไปสรางไอโซเทอรมของการดูดซับ
บนพื้นผิวของตัวดูดซับที่เปนของแข็งที่มีตัวถูกดูดซับหลายชนิด เชน ตัวถูกดูดซับที่ไมแตกตัวทั้ง
ชนิดเดียวและสองชนิด และตัวถูกดูดซับที่แตกตัวได