Page 128 -
P. 128
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การเรงปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ 119
กรณีที่ 2 ถาความดันสูง หรือ K p >> 1 จะได
θ ~ 1 (6.14)
สมการ (6.14) แสดงวา การดูดซับเปนการดูดซับของตัวถูกดูดซับบนพื้นผิวของตัวดูดซับอยาง
สมบูรณหนึ่งชั้น เมื่อความดันสูงมากๆ
รูปที่ 6.1 แสดงไอโซเทอรมแลงเมียรของการดูดซับของแกสบนพื้นผิวของตัวดูดซับที่เปน
ของแข็ง ในรูปความสัมพันธระหวางเศษสวนของการปกคลุมบนพื้นผิว (θ) และความ
ดัน (p) เมื่อมีสัมประสิทธิ์ของการดูดซับ (K) ตางๆ
θ
1.0 K = 10 atm
-1
-1
K = 1 atm
0.5 K = 0.1 atm
-1
0.0 p / atm
01 23 45 67 89 10
กราฟไอโซเทอรมแลงเมียรของการดูดซับของแกสบนพื้นผิวของตัวดูดซับที่เปนของแข็ง
ในรูปที่ 6.1 แสดงใหเห็นวา
1. ถาความดัน p เพิ่มขึ้น จะไดเศษสวนของการปกคลุมบนพื้นผิว θ เพิ่มขึ้น และเมื่อ
ความดันสูงมากๆ จะทําให θ มีคาสูงสุดเทากับหนึ่งหรือมีการดูดซับอยางสมบูรณ
2. ที่ความดันคงที่หนึ่งๆ ถาสัมประสิทธิ์ของการดูดซับ K เพิ่มขึ้น จะได θ เพิ่มขึ้น หรือ
อาจกลาวไดวาถาความแข็งแรงของการดูดซับเพิ่มขึ้น จะมีการดูดซับเพิ่มขึ้น
3. แตละเสนกราฟที่มีคา K คงที่หนึ่งๆ คือ แตละไอโซเทอรมที่มีอุณหภูมิคงที่หนึ่งๆ
เนื่องจากการดูดซับเปนกระบวนการคายความรอน ดังนั้นการเพิ่มอุณหภูมิจะทําใหการดูดซับ
นอยลง และจะมีคา K ลดลงดวย