Page 156 -
P. 156
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
138
วิธีท า
1. ต้มนํ้าสต็อก หรือ นํ้าซุปไก่กับข่า ตะไคร้ เห็ด และใบมะกรูด
2. เมื่อนํ้าซุปเดือดใส่ไก่ ปรุงรสด้วยนํ้าปลา ใส่พริกขี้หนูเมื่อซุปมีไอเกือบเดือดราดหัวกะทิ
แล้วยกลง
3. ปรุงรสด้วยนํ้ามะนาว ตักใส่ชามโรยผักชี เสิร์ฟขณะที่ร้อน
หมายเหตุ
1. เห็ดฟางและเห็ดนางฟ้ าดิบสามารถใส่ต้มลงในหม้อนํ้าซุปได้เลย จะไม่ทําให้นําซุปมีสีคลํ้า แต่
หากเป็นเห็ดแชมปิยองดิบควรต้องต้มนํ้าเกลือเจือจางก่อน จึงนํามาใส่ในซุปมิฉะนั้นนํ้าซุปจะมี
สีคลํ้า
2. เมื่อใส่กะทิไม่ควรต้มให้เดือด มิฉะนั้นกะทิจะแตกมันและทําให้เสียรสชาติ
3. การทําอาหารที่มีกะทิต้องระวังอย่าให้กะทิบูดเสีย คือ การใส่เกลือเล็กน้อยแล้วต้มฆ่าเชื้อ ลด
อุณหภูมิโดยเร็วและเก็บในที่อุณหภูมิตํ่าจะช่วยรักษาความสดของกะทิได้ระดับหนึ่ง
ต้มโคล้ง
ต้มโคล้ง เป็นอาหารประเภทนํ้าซุปที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควรในต่างประเทศอาจจะเป็น
เพราะว่า ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่ยังมิได้นําบรรจุในรายการอาหาร เพื่อให้มีโอกาสถูกเลือก ทั้ง ๆ ที่
อาจจะนําเสนอเป็นอาหารสุขภาพได้อีกจานหนึ่ง เพราะเป็นนํ้าซุปจากหัวหอมแดงและพริกแห้ง ปรุงรส
เค็มด้วยนํ้าปลาและเกลือ ปรุงรสเปรี้ยวด้วยนํ้ามะขามเปียก หรือ ใบมะขาม เนื้อสัตว์ที่ปรุงต้มโคล้ง
พบว่ามีการใช้เนื้อสัตว์ที่หลากหลาย เช่น กระดูกหมู และกุ้ง เป็นต้น
เครื่องปรุง สัดส่วนตวง/ชั่ง
กระดูกหมูใช้กระดูกอ่อน (หมักตามส่วนข้างต้น) 300 กรัม
นํ้าสต็อกหมู (จากกระดูกหมู) 3 ถ้วย
หอมแดงเผาปอกเปลือก ½ ถ้วย
พริกชี้ฟ้ าแห้งย่างหั่นท่อน 2 นิ้ว ¼ ถ้วย
มะขามเปียกทั้งฝัก 3 ฝัก
นํ้าปลา 3 ช้อนโต๊ะ
ใบมะขามอ่อน (ถ้ามี) ½ ถ้วย