Page 153 -
P. 153
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
133
น ้ามะขาม
เครื่องปรุง
มะขามเปียกใหม่ 200 กรัม
น ้าสะอาด 8 ลิตร
เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ (เพื่อปรับสมดุลของรสชาติ)
อบเชยแท่งยาว 4 นิ้ว 2 ท่อน
น ้าตาลทราย 8 - 10 ถ้วย (ขึ้นอยู่กับความเปรี้ยวของมะขาม)
วิธีท า
1. ฉีกมะขามเปียกใส่หม้อ เติมอบเชย เกลือ และน ้าร้อนปิดฝาหม้อ ตั้งพักไว้ประมาณ 30 นาที
2. ต้มไฟอ่อน ๆ 5 นาที เติมน ้าตาลทราย แล้วพักไว้ ครึ่งชั่งโมง
3. กรองกากออกด้วยกระชอน แล้วน าเสิร์ฟร้อน หรือ เย็น (กากมะขามใช้กวนได้)
สิ่งควรรู้เฉพาะต ารับน ้ามะขามต านานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครื่องดื่มน ้ามะขาม โดยใช้น ้าต้มกับมะขามเปียกและอบเชยนั้น อบเชยจะช่วยดับกลิ่นของ
มะขามเปียก เพิ่มกลิ่นหอมให้แก่น ้ามะขามที่นับเป็นต านาน (legend) ทางความคิดของ ศาสตราจารย์
คุณชวนชม จันทระเปารยะ ผู้ก่อตั้งภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดการสอนที่ผู้เขียนเป็นลูกศิษย์และผู้เขียนรับทราบมาจากรุ่นพี่ KU 28 ในงานเลี้ยง
เกษียณอายุราชการของ รศ.ดร.กุลขนิษฐ์ ราเชนบุญวัฒน์ เมื่อปี พ.ศ.2543 (โดยรุ่นพี่ KU 28 ได้เล่าที่มา
ของการเลือกเข้าเรียนในภาควิชาคหกรรมศาสตร์ เพราะได้ลิ้มลองดื่มกินน ้ามะขามฝีมือของศาสตราจารย์
คุณชวนชม จันทระเปารยะ) สรรพคุณทางยาของอบเชยช่วยในเรื่องระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น น ้า
มะขามที่ต้มใส่อบเชย ยังช่วยให้ไม่เกิดอาการเสาะท้อง หรือ อาการปวดท้องจากการดื่มน ้ามะขามด้วย
น ้าใบเตย
เครื่องปรุง
ใบเตยแก่ (ล้างสะอาด) 10 ใบ
น ้าสะอาด 2 ลิตร
น ้าตาลทราย ½ - 1 ถ้วย
วิธีท า
1. ฉีกใบเตยเป็นท่อนใส่ในหม้อน ้าร้อนปิดฝาหม้อ
2. ต้มไฟอ่อน ๆ 5 นาที ปิดไฟ แล้วตั้งพักไว้ประมาณ 30 นาที
3. ตักใบเตยออก เติมน ้าตาลทราย แล้วน าเสิร์ฟร้อน หรือ เย็น