Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
131
วงกว้าง ผลิตภัณฑ์นมมีหลากหลาย เช่น นมพาสเจอร์ไรต์ นมข้นจืด นมผง โยเกิร์ตข้นและโยเกิร์ต
พร้อมดื่ม เป็นต้น การผลิตโยเกิร์ตต้องใช้เวลาหมักอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
6. เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากธัญพืช เป็นเครื่องดื่มจากแนวคิดของการรับประทานอาหาร
มังสวิรัติ หรือ อาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ เช่น น ้านมถั่วเหลือง น ้านมข้าวโพด เครื่องดื่ม
จากฟักทอง เครื่องดื่มจากงา เครื่องดื่มน ้าอาซีที่ท าจากธัญพืชหลากหลายชนิด (สุรชัย, 2551) เป็นต้น
ต ารับเครื่องดื่มที่น าเสนอนี้ ได้ผ่านการทดลอง ทดสอบ และใช้สอนมาเป็นระยะเวลานาน
เกินกว่า 10 ปี จนแน่ใจว่าสามารถท าดื่มเอง ท าขึ้นเป็นของก านัลทดแทนการจ่ายเงินซื้อของให้ผู้อื่น และ
ท าจ าหน่ายได้ ซึ่งลูกศิษย์ที่เรียนไปท าจ าหน่ายและแจ้งผลของความส าเร็จให้ทราบมาแล้วจ านวนมาก
สิ่งควรรู้ส าหรับการต้มเครื่องดื่ม
1. หลักการท างานให้ง่ายและเร็ว หากต้องการผลิตเครื่องดื่มจ านวนมากและท าพร้อมกันหลาย ๆ
ประเภท ควรต้องต้มน ้าให้เดือดก่อนในหม้อขนาดใหญ่ แล้วใช้น ้าร้อนแช่พืชหรือ สมุนไพรที่ต้องการต้ม
เพื่อดึงสี กลิ่นและรสจากสมุนไพรและน ้าร้อนจะช่วยให้พืชหรือสมุนไพรที่ต้มเปื่อย คลายความเปรี้ยว
ออกมาระดับหนึ่งก่อน โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ครั้นต้มต่ออีกเพียง 3 – 5 นาที ปิดไฟตั้งทิ้งไว้ จะ
เป็นการประหยัดเวลาและลดการใช้พลังงานได้มากกว่าที่เราต้มที่ละหม้อ และที่ส าคัญจะเป็นการลดโลก
ร้อนอีกด้วย การต้มวิธีนี้ไม่จ าเป็นต้องมีเตาหุงต้มจ านวนมากด้วย แต่ใช้กระบวนการคิดเรื่องการจัดการ
มาช่วยในการท างาน
2. การต้มเครื่องดื่มทุกชนิด เราต้องการกลิ่นหอมจากพืช หรือ สมุนไพรที่น ามาต้ม ดังนั้น หากเรา
พิจารณาเรื่องทฤษฎีความร้อนที่ต้มท าให้น ้าเดือดกลายเป็นไอ ไอน ้าย่อมระเหยขึ้นสู่ที่สูง ในขณะเดียวกัน
ก็จะระเหยน าความหอมของสมุนไพรที่ต้มไปด้วย วิธีท าที่ดี (good practice) คือ การปิดฝาหม้อทุกครั้ง
ที่ต้ม และหากน ้าเดือด ควรต้องลดไฟลงเพียงเพื่อรักษาระดับความร้อนให้น ้าเดือดเบา ๆ ประมาณ 3-5
นาที ก็เพียงพอ แล้วปิดไฟและตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีจนกระทั่งอุณหภูมิน ้าลดลง ความเป็นไอน ้าก็จะ
ระเหยเอาความหอมออกไปได้น้อย จึงเปิดฝา แล้วกรองกากออกอีกครั้งแล้วปรุงรสก่อนบรรจุ
3. ภาชนะที่ใช้ในการต้มเครื่องดื่มไม่ควรใช้หม้ออลูมิเนียม เพราะกรดจากความเปรี้ยวอาจจะกัด
กร่อนอลูมิเนียมปนเปื้อนลงในเครื่องดื่มที่อาจจะท าให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
4. เครื่องดื่มที่ไม่มีรสเปรี้ยว เช่น น ้ามะตูม น ้าเก๊กฮวย น ้าขิง น ้าใบเตย น ้าตะไคร้ โดยใช้สัดส่วน
ของน ้าตาลทรายประมาณ ½ ถ้วยต่อน ้า 1 ลิตร (ทั้งนี้อาจจะปรับเพิ่ม หรือ ลดปริมาณน ้าตาลทรายได้ตาม
ความชอบ แต่หากท าจ าหน่ายให้คงไว้ในสัดส่วนนี้ นับว่าดีแล้ว)