Page 149 -
P. 149

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                           บทที่ 8


                                       เครื่องดื่มชื่นใจ: ใส่ใจสุขภาพและการท าธุรกิจ



                                         เครื่องดื่มให้ความชื่นใจ     ให้ความสดใส  เมื่อได้ดื่มกิน

                                 ดื่มครั้งคราใด  ใคร่สมถวิล      ร้องเรียกเพรียกดื่มกิน เครื่องดื่มไทย

                                 วัตถุดิบไทยมีมากมายหลากหลาย    พร้อมจุดมุ่งหมายต่างกิจกรรม

                                 ใครใคร่รู้สู้เรียนท าจ าหน่าย      เร่งขวนขวายฝึกให้ช านาญ  สืบสานสู่อาชีพเอย
                                                                                     สุรชัย  จิวเจริญสกุล: ผู้แต่ง


                          “เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ”  เป็นเครื่องดื่มที่มีอยู่ในวิถีการบริโภคเครื่องดื่มของไทยมาช้านาน

                   การผลิตเครื่องดื่มของไทยผลิตจากส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เปลือกไม้และรากไม้
                   ซึ่งผู้รู้ของไทยกล่าวไว้ว่า “ต้นไม้ทุกต้นเป็นสมุนไพร” เครื่องดื่มจากสมุนไพรในปัจจุบันได้รับความ

                   สนใจมากขึ้น เพราะดื่มแล้วจะลดอาการกระหายน ้า ให้ความสดชื่น สมุนไพรยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

                   การผลิตเครื่องดื่มให้เป็นที่ยอมรับต่อผู้บริโภคจึงเป็นความท้าทายที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ และน าสู่การผลิต

                   เครื่องดื่มเชิงพาณิชย์  เป็นการเพิ่มมูลค่าของการเรียนรู้สู่เส้นทางการท าดื่มกินเอง ท าให้ญาติมิตรเพื่อ

                   ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อของแจกตามเทศกาลและต่อยอดการน าสู่การท าธุรกิจเครื่องดื่ม
                   (http://www.refresherthai.com/Article/Benefits_of_coffee.php,  http://women.thaiza.com, และ

                   http://th.wikipedia.org/wiki/)  ต่อไป


                          “การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์”   แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ คือ


                          1.  เครื่องดื่มสุขภาพต ารับไทย  โดยทั่วไปแล้วเป็นเครื่องดื่มที่ใช้ถวายพระภิกษุสงฆ์ในยามวิกาล

                   คือ หลังเที่ยงวัน  ที่เรียกว่า “น ้าปานะ” เพื่อลดความหิวกระหาย ไม่ควรมีส่วนผสมของแป้ ง หรือ
                   คาร์โบไฮเดรต  ในปัจจุบันมีการผลิตจ าหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น ได้แก่ น ้ามะตูม  น ้าขิง  น ้ามะขาม

                   น ้าใบเตย  น ้าตะไคร้  น ้าเก๊กฮวย  น ้าพุทรา และน ้ากระเจี๊ยบ เป็นต้น


                          2.  เครื่องดื่มสุขภาพต ารับร่วมสมัย  เป็นเครื่องดื่มที่มาจากอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ที่มี

                   การจัดเตรียมและการเสิร์ฟในการจัดงานเลี้ยงต่าง ๆ ในปัจจุบัน  เครื่องดื่มต ารับร่วมสมัยนี้ มักจะรู้จักกัน
                   ในนาม “พั้นซ์” คือ เครื่องดื่มที่ผสมจากน ้าผลไม้ผสมด้วยน ้ามะนาว หรือ กรดให้มีรสเปรี้ยว มี 2 ลักษณะ

                   คือ พั้นซ์ใส เช่น พั้นซ์ที่ใช้น ้าแตงโมเป็นส่วนผสม หรือ พั้นซ์ขุ่นเป็นพั้นซ์ที่ใช้น ้าส้มคั้น หรือ น ้ามะม่วง

                   เป็นส่วนผสม นอกจากนี้แล้ว พั้นซ์ยังแบ่งออกเป็นพั้นช์ที่ผสมแอลกอฮอล์ กับพั้นซ์ที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154