Page 180 -
P. 180

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       7-15




                   ประมาณ 500,000  ไร่ ในระยะของแผนนี้ และมีโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้้า และคลองส่งน้้าในภาค

                   ตะวันออกเฉียงเหนืออีกไม่น้อยกว่า 32 อ่าง ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ใช้การได้จ้านวน 30 อ่าง ภายในระยะของ
                   แผน อนึ่งเพื่อให้ระบบส่งน้้ามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถส่งน้้าไปช่วยการเพาะปลูกได้เต็มที่ จึงจัดให้มีการ

                   สร้างคัน และคูน้้า ในพื้นที่ 4.5  ล้านไร่ ในเขตโครงการชลประทานที่ส้าคัญๆ เช่น แม่แตง แม่ยม ล้าปาว
                   และแม่กลองใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีโครงการดาดคอนกรีตคลองส่งน้้าในเขตชลประทานเดิมตามความ

                   จ้าเป็นเพื่อป้องกันการรั่วซึม และการพังทลายของล้าคลองอันจะท้าให้การส่งน้้ามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และ

                   ประหยัดค่าบ้ารุงรักษาลงได้มาก” (ส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2509: 135-138)
                                  ในบทที่ 14 การพัฒนาสังคมและสาธารณูปการ ได้มีโครงการเกี่ยวกับน้้าในข้อ 5.1 หน้า 235 ดังนี้

                                         “5.1 การพัฒนาชนบท
                                                1)  โครงการจัดหาน้้าสะอาดในชนบททั่วราชอาณาจักร น้้าสะอาด

                   ส้าหรับการอุปโภคบริโภคยังขาดแคลนอยู่ตามชนบททั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาส้าคัญในปัจจุบัน ตามโครงการใหม่

                   จะสามารถจัดหาน้้าสะอาดสนองความต้องการได้พอเพียงในจ้านวนประมาณ 20,000 หมู่บ้านในจ้านวนหมู่บ้าน
                   ทั้งหมด 50,000  หมู่บ้าน โดยจะเร่งด้าเนินการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพิเศษ แหล่งน้้าที่จะจัดหามี

                   หลายชนิด รวมทั้งการประปาหมู่บ้านและบ่อน้้าต่างๆ ส้าหรับวิธีการด้าเนินงานนั้นจะร่วมกันระหว่างหน่วย

                   ราชการต่างๆ คือ กรมอนามัย กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาเทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมี
                   คณะกรรมการบริหารเพื่อประสานงานในระยะ 5 ปี คาดว่าจะต้องใช้เงินตามโครงการนี้ประมาณ 430 ล้านบาท

                                                3) โครงการชลประทานราษฎร์ กรมการปกครองจะด้าเนินงานจัดสร้าง
                   โครงการชลประทานขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมอาชีพ และให้รับกับระบบส่งน้้าชลประทานขนาด

                   ใหญ่ โดยถือหลักด้าเนินการร่วมกันกับประชาชน นอกจากนั้น จะพยายามจัดตั้งสมาคมชลประทานราษฎร์

                   ให้ครบทุกอ้าเภอในเขตชลประทาน” (ส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2509: 235)
                                  วันที่ 25  มีนาคม 2512 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของ

                   รัฐบาล คณะที่ 31  ต่อรัฐสภาในนโยบายข้อที่ 5  และข้อที่ 8  มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชลประทาน และการ
                   พัฒนาแหล่งน้้า ดังนี้

                                         “5. รัฐบาลนี้จะเน้นหนักเป็นพิเศษในงานด้านชลประทานการก่อสร้าง และบูรณะ

                   ทางหลวงให้ทั่วถึงทุกภาค ปรับปรุงขยายงานด้านพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการทางด้านธุรกิจ
                   อุตสาหกรรม และครัวเรือนอยู่เสมอ รวมทั้งจะส่งเสริมสหกรณ์เอนกประสงค์ให้มีมากขึ้น

                                         ..............................

                                         ..............................
                                         8. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่

                   ให้มีประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ จะจัดหาแหล่งน้้าเพิ่มขึ้น และจะส่งเสริมให้เกษตรกร

                   รู้จักใช้น้้าชลประทานที่รัฐบาลได้จัดสร้างขึ้นแล้วให้บังเกิดผลมากที่สุด จะช่วยเหลือเกษตรกรในด้านวิชาการต่างๆ
                   อันทันสมัย ช่วยให้มีตลาดเพื่อจ้าหน่ายผลิตผลที่เกษตรกรผลิตได้ ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185