Page 184 -
P. 184
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7-19
(ค) เหมืองฝายจะด้าเนินการสร้างฝายทดน้้า และระบบส่ง
น้้าขึ้นสู่แปลงเพาะปลูกสามารถใช้น้้าเพื่อการเกษตรกรรมได้เป็นพื้นที่ 600,000 ไร่ ในระยะเวลา 5 ปี
งานใหม่
โครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3
1. โครงการอ่างเก็บน้้าบางพระ จังหวัดชลบุรี เป็นโครงการเสริมเขื่อนของอ่าง
เก็บน้้าบางพระเดิม ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้้าขนาดใหญ่แห่งแรกของภาคตะวันออก จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496
และก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2502 เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 19,345,000 บาท มีขนาดจุน้้า 22 ล้านลูกบาศก์
เมตร เพื่อเก็บไว้ส้าหรับบรรเทาความขาดแคลนน้้าใช้เพื่อการบริโภค อุตสาหกรรม การกสิกรรม และอื่นๆ
ขณะนี้เนื่องจากความเจริญในด้านอุตสาหกรรม และความหนาแน่นของประชาชนในจังหวัดชลบุรี เป็นไป
อย่างรวดเร็วมาก ปริมาณน้้าที่เก็บกักไว้มีไม่พอกับความต้องการ โดยเฉพาะความต้องการใช้น้้าเพื่อการ
อุตสาหกรรม ที่ก้าลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีจากปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งจะต้องการใช้
น้้าประมาณปีละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร จ้าเป็นต้องปรับปรุงให้อ่างเก็บน้้ามีความจุเพิ่มขึ้นจนเพียงพอแก่
ความต้องการ โดยเสริมเขื่อนของอ่างเก็บน้้าให้มีขนาดความจุ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร การเตรียมงาน
เบื้องต้นได้เริ่มในปี พ.ศ. 2514 และท้าการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2515 ก้าหนดจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2516
ค่าใช้จ่ายของโครงการเป็นเงินประมาณ 229 ล้านบาท
2. การพัฒนาการเกษตรชลประทานในเขตโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ให้มี
พื้นที่ส้าหรับการเพาะปลูกฤดูฝน 3,340,730 ไร่ ส้าหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้ง 1,305,000 ไร่ โครงการ
ชลประทานในภาคอีสานส้าหรับการเพาะปลูกฤดูฝน 707,300 ไร่ ฤดูแล้ง 490,000 ไร่ โครงการ
ชลประทานภาคใต้ ส้าหรับเพาะปลูกฤดูฝน 330,000 ไร่ ฤดูแล้ง 100,000 ไร่ และโครงการชลประทาน
ภาคเหนือฤดูฝน 88,875 ไร่ ฤดูแล้ง 62,400 ไร่ รวมทั้งสิ้นพื้นที่ปฏิบัติการในฤดูฝน 4,466,905 ไร่ และฤดู
แล้ง 1,957,400 ไร่ ทั้งนี้เนื่องด้วยเป็นพื้นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีเขื่อนเก็บกักน้้า และคันคูน้้า เรียบร้อย
เป็นส่วนใหญ่การด้าเนินการจะอยู่ภายใต้ขอบเขตวงเงินและความเหมาะสมและมีการจัดท้าโครงการด้าเนินการเป็น
แห่งๆ ไป” (ส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2514: 254-258)
วันที่ 7 ตุลาคม 2517 ได้มีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ใน
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 69 หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 77 มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้้าดังนี้
“มาตรา 77 รัฐพึงบ้ารุงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม และความงามทาง
ธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้้า ล้าธาร และน่านน้้า”
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 33 ฉบับพิเศษ โดยมีเหตุผลในการ
ประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้กิจการชลประทานได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้น
นอกจากการใช้น้้าเพื่อเกษตรกรรมแล้ว มีการใช้น้้าจากทางน้้าชลประทานเพื่อกิจการโรงงาน การประปา
การอุตสาหกรรม และกิจการอื่นด้วย แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติบางมาตราแห่งกฎหมายว่าด้วยการชลประทาน