Page 186 -
P. 186
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7-21
บริเวณซึ่งก้าลังเดือดร้อนเพราะถูกภัยธรรมชาติเช่น ในเขตอีสาน ภาคใต้ และที่ราบภาคกลาง จะเป็นเขตที่
ได้รับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นพิเศษ” (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540: 189)
วันที่ 30 เมษายน 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของ
รัฐบาล คณะที่ 37 ต่อสภาผู้แทนราษฎร มีนโยบายทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการชลประทาน ดังนี้
“7. จะเร่งด้าเนินการโครงการชลประทานขนาดเล็ก ให้แพร่หลายทั่วประเทศ
ส้าหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขาดแคลนน้้าจะพัฒนาการชลประทาน และคลองส่งน้้าให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น” (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540: 209)
วันที่ 29 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของ
รัฐบาล คณะที่ 39 ต่อรัฐสภาที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน ในนโยบายด้านการเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้
“จะสนับสนุนเกษตรขนาดเล็ก กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ให้มีขีด
ความสามารถในการผลิตสูงขึ้น จัดให้มีบริการปัจจัยการผลิต เช่น การจัดระบบการเกษตร การชลประทานโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการชลประทานขนาดเล็กให้ทั่วถึงทุกท้องที่” (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540: 219)
วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติน้้าบาดาล พ.ศ. 2520
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 69 (ฉบับพิเศษ) โดยมีเหตุผลว่าเนื่องจากในปัจจุบันนี้มีการเจาะน้้า
บาดาล และการใช้น้้าบาดาลกันอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต แต่ยังไม่มีการ
ควบคุมให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จนปรากฏว่าแหล่งน้้าบาดาลบางแห่งเกิดขาดแคลน หรือ
เสียหาย ซึ่งถ้าปล่อยให้มีสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไปอาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของชาติ หรือท้าให้
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สิน หรือสุขภาพของประชาชน สมควรมีมาตรการป้องกันอัน
เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน จึงจ้าเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้น
นโยบายน ้าในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ได้มีนโยบาย
การใช้น้้าในข้อ 3.3 และมาตรการและนโยบายการพัฒนาในข้อ 3.4 ดังนี้
“3.3 นโยบายการใช้น้้า
การใช้แหล่งน้้าส้าหรับโครงการเอนกประสงค์ ควรจะจัดล้าดับความส้าคัญของ
การใช้โดยทั่วๆ ไปดังนี้
3.3.1 เพื่อการเกษตรกรรม
เนื่องจากเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศขึ้นอยู่กับผลิตผลด้านเกษตร
เป็นส้าคัญจึงควรที่จะมุ่งพัฒนาแหล่งน้้าเพื่อการนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะโครงการชลประทานเจ้าพระยา
ตอนบน และการชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ในเขตชลประทานเพียง 1.4 ล้านไร่
หรือประมาณร้อยละ 4 ของพื้นที่เพาะปลูกของภาคทั้งๆ ที่ในภาคนี้มีลุ่มน้้าใหญ่น้อยอยู่ถึง 2 ลุ่มน้้า และมี
อยู่หลายลุ่มน้้าที่ยังมิได้มีการพัฒนาในเรื่องแหล่งน้้าเพื่อการชลประทานอย่างเต็มที่ เช่น ลุ่มน้้าชี และลุ่มน้้ามูล
เป็นต้น” (ส้านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2519: 172)