Page 85 -
P. 85
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
78
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 8 สัทสัมพันธ
บทที่ 8
สัทสัมพันธ
สัทสัมพันธ (Prosody) คือสัทลักษณอื่นๆ ที่ปรากฏรวมกับเสียงพยัญชนะและสระในการพูด
ครั้งหนึ่งๆ เชน ระดับเสียงสูงต่ํา ความดัง ความเร็ว จังหวะ การเนนพยางค ความยาว (พจนานุกรมศัพท
สัทศาสตร 2537: 55) สัทสัมพันธเปนสวนที่รวมกับหนวยเสียงสระหรือพยัญชนะ แตเปนอิสระตอเสียง
สระหรือพยัญชนะนั้นๆ เปนที่สังเกตวาในระบบตัวเขียน (writing system) ของภาษาตางๆ สัทสัมพันธ
ลักษณ (prosodic features) มักจะเขียนดวยเครื่องหมายตางๆนอกเหนือไปจากตัวอักษรแทนเสียงสระ
พยัญชนะหรือตัวพยางค (Kenstowicz 1994 :44) ซึ่งอาจจะเปนการแสดงความเปนอิสระของหนวย
สัทสัมพันธตอหนวยเสียงพยัญชนะหรือสระในการรับรูโดยธรรมชาติของผูพูด/ผูฟงภาษานั้นๆ
8.1 ความยาวของเสียง (Duration)
ความยาวของเสียงเปนเรื่องของเวลาที่ใชออกเสียงสําหรับหนวยเสียงสระหรือพยัญชนะ
หนึ่งๆ ในบางภาษาความยาวของเสียงเปนความแตกตางหรือสัทลักษณ (feature) ที่แยกหนวยเสียง
2 หนวยเสียงจากกัน เชน สระ 2 เสียงที่เปนอิสระตอกันจําแนกตางกัน (contrastive) แมจะมีฐานกรณ
เดียวกัน เชน สระเสียงสั้นและสระเสียงยาวในภาษาไทย (Thai) ดังนี้
(1) [paºk] “ปก” [pa∃k] หรือ [paº:k] “ปาก”
[p*o½n] “ผล” [p*o&n] หรือ [p*o&:n] “โผน”
[k*uºt] “ขุด” [k*u∃t] หรือ [k*uº:t] “ขูด”
แตในบางภาษา การเพิ่มความยาว (lengthening) หรือลดความยาวของเสียง(shortening) เปนกฎ
ทางเสียงที่เกิดจากการเปลี่ยนความหมายหนวยคํา หรือเกิดจากอิทธิพลของเสียงในบริบท และหลายครั้ง
การเพิ่มความยาวเปนผลที่เกิดจากตําแหนงที่เนนในพยางค (stressed position) และการลดความยาวเปน
ผลที่เกิดจากตําแหนงที่ไมเนน (unstressed position) ดังตัวอยางตอไปนี้
ภาษาโยกุต (Yokut) (Halle & Clements 1984:153) มีสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวเปน
หนวยเสียงอิสระและมีกฎทางเสียงที่แปรสระเสียงยาวเปนสระเสียงสั้นเมื่อสระนั้นตามดวยพยัญชนะ
2 เสียง เชน
(2) Aorist passive Aorist Future passive
saÖpit saphin sapnit ‘burn’ “ไหม”
IoÖbit Iobhin Iobnit ‘taken in’ “รับ”
meÖkit mekhin meknit ‘swallow’ “กลืน”
ซึ่งสรุปเปนกฎไดดังนี้
(3) V: → V / CC…