Page 86 -
P. 86
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 8 สัทสัมพันธ 79
ในภาษาอังกฤษ สระจะมีเสียงยาวขึ้นเมื่อนําหนาพยัญชนะเสียงโฆษะ และสั้นลงเมื่อนําหนาเสียง
อโฆษะในพยางคเดียวกัน (Ladefoged, 1993:90-91) ตัวอยางเชน
(4) [k*æÖb] ‘cab’ “รถแทกซี่” [k*æ!p] ‘cap’ “หมวก”
[bæÖd] ‘bad’ “ไมดี” [bæ!t] ‘bat’ “คางคาว”
[raÖjd] ‘ride’ “ขี่” [raj!t] ‘right’ “ขวา”
(5) V → VÖ / (X) C ] σ
[+vce]
X = semi-vowel
ในภาษาไอซแลนด (Icelandic) เสียงสระจะยาวขึ้นในตําแหนงเนนพยางค ซึ่งเปน
พยางคเปด ตัวอยางเชน (Goldsmith 1992:158 และ Halle & Clement 1984:163)
(6) Infinitive Past Tense
siÖna sint+ ‘show’ “แสดง”
vaÖk*a vaxt+ ‘wake’ “ตื่น”
laiÖsa laist+ ‘lock’ “ใสกุญแจ”
(7) V → VÖ / ] σ CV
8.2 การเนนพยางค (Stress)
พยางค (syllable) ประกอบไปดวยหนวยเสียงที่ทําหนาที่เปนแกนพยางค (syllable nucleus)
ซึ่งโดยทั่วๆ ไปมักจะเปนเสียงสระ และมีพยัญชนะตน (consonant onset) และพยัญชนะทาย (consonant
coda) พยางคจึงเปนสัทสัมพันธซึ่งสัมพันธกับหนวยเสียงหลายๆ หนวยเสียง (ดูรายละเอียดในบทที่ 9)
แตละภาษามีการเนนพยางคแตกตางกันไป ในบางภาษาการเนนพยางคมากับคําในคลังศัพท
(lexical stress) บางภาษามีกฎเกณฑการเนนพยางคที่ชัดเจน (predictable) สามารถคาดหมายไดวาพยางค
ใดในคํานั้นๆ เปนพยางคเนน