Page 62 -
P. 62
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 6 พฤติกรรมทางเสียงและกฎทางเสียง 55
บทที่ 6
พฤติกรรมทางเสียงและกฎทางเสียง
เสียงที่เราพูดในแตละคําในประโยคตางๆ มักจะมีการเปลี่ยนแปร เนื่องจากเสียงอื่นๆ ในบริบท
เชน เกิดการกลมกลืนเสียง ( assimilation ) หรือแผกแยกเสียง ( dissimilation ) มีการเพิ่มเสียง( insertion )
หรือลดเสียง ( deletion ) เปนตน พฤติกรรมเสียงตางๆ เหลานี้ มักจะมีสาเหตุมาจากธรรมชาติของสรีระ
ในการออกเสียงและการรับรูเสียงในการฟง หรือจากคุณสมบัติทางกายภาพของเสียงเปนสําคัญ เพื่อทําให
เกิดความสะดวกในการออกเสียง หรือเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการสื่อความหมายตอผูฟง
พฤติกรรมเสียงตามธรรมชาติเหลานี้มักจะมีลักษณะที่เปนสากล ซึ่งพอจําแนกประเภทของพฤติกรรม
หลักๆ ไดดังนี้ (Schane 1973: 49-61)
6.1 การกลายเสียง
6.1.1 การกลมกลืนเสียง ( assimilation )
คือการที่เสียงเปลี่ยนแปรหรือกลายไปตามเสียงในบริบท โดยกลายเสียงตามเสียงใน
บริบท มีลักษณะตางๆ ดังนี้
6.1.1.1 เสียงพยัญชนะกลมกลืนเสียงตามเสียงสระ
ในภาษาญี่ปุน สระสูงหนา [ i ] เปนบริบททําใหพยัญชนะ ที่ปุมเหงือก [s]
เกิดการแปรเสียง ยกลิ้นสวนหนาขึ้นสูง กลายเสียงเปน ‘ alveolopalatal ’ [5] กลมกลืน
ไปดวย ตัวอยางเชน ( จาก Halle & Clements 1985 )
kasu ‘lend, (present)’ “ยืม (ปจจุบัน)”
kasanai ‘lend, (negative)’ “ยืม (ปฏิเสธ)”
ka5itai ‘lend, (volitional)’ “ยืม ( volitional)”
ka5ita ‘lend, (past)’ “ยืม (อดีต)”
6.1.1.2 เสียงสระกลมกลืนตามเสียงพยัญชนะ
ในภาษาอังกฤษ เสียงสระ จะมีเสียงนาสิกควบ เมื่อมีเสียงนาสิกในบริบท
ตัวอยาง เชน k*æ mp ‘camp’ “คาย”
læ¿mb^ ‘lamb’ “ลูกแกะ”
k* 7¿nt ‘couldn’t’ “ไมสามารถ”
6.1.1.3 เสียงพยัญชนะกลมกลืนเสียงตามเสียงพยัญชนะ
ภาษาคลาเมธ ( Klamath ) มีการกลมกลืนเสียงพยัญชนะ โดยเสียงนาสิก
จะแปรเปนเสียงขางลิ้น กลมกลืนกับเสียงขางลิ้นที่ตามมาในบริบทที่ติดกัน
ตัวอยางเชน (Halle & Clements, 1985)