Page 55 -
P. 55
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 5 คลังศัพท
48
5.2 การระบุสัทลักษณจํานวนนอยที่สุด และกฎซ้ําซอน
(Minimal Specification & Redundancy Rules)
ในการจดจําเสียง สวนประกอบยอย หรือสัทลักษณยอยของแตละหนวยเสียงถูกบันทึก
โดยขอมูลเฉพาะที่จําเปนเทานั้น
ตัวอยาง ขอมูลเสียงในคลังศัพท ที่ระบุเต็มขนาด ( fully specified ) สําหรับสระ 5 เสียง
เชนในภาษาสเปน แบบจําลองการระบุสัทลักษณของหนวยเสียงในคลังศัพทนี้ไดพัฒนาจาก
ชอมสกี้และแฮลี (1968) มาเปนทฤษฎีแบบจําลองที่เรียกวา “ทฤษฎีการเก็บเสียงระดับลึก”
( Underspecification Theory, Archangeli 1984,1988; Pulleyblank 1986,1988 )
ตารางที่ 5.1 สัทลักษณของเสียงสระ 5 เสียงในภาษาสเปน
i e a o u
syll + + + + +
cons - - - - -
voice + + + + +
son + + + + +
cont + + + + +
high + - - - +
low - - + - -
back - - + + +
round - - - + +
ที่มา: ดัดแปลงจาก Schane 1973: 35
สําหรับสระในระบบเสียงของภาษาที่มีสระ 5 เสียงนี้ การระบุวาเปนสระ [+syll] [-cons]
ก็จะบอกคาซ้ําซอนไดวาตองเปน [ +son ] [ +cont ] และ [ +voice ] ฉะนั้นคา + ของสัทลักษณ
[son, cont, voice] ไมจําเปนตองระบุในระบบนี้ เราสามารถมีกฎจากไวยากรณสากล
( Universal Grammar, UG ) ซึ่งเปนกฎซ้ําซอน ( redundancy rule ) ไดดังนี้ :
(2) [+syll , -cons] → +son
+cont
+voice