Page 54 -
P. 54
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 5 คลังศัพท 47
บทที่ 5
คลังศัพท
5.1 คลังศัพท (Lexicon)
คลังศัพทเปนที่เก็บเสียงในระดับลึกและมีการปฏิสัมพันธระหวางกฎเกณฑการสรางคํา
( morphological rules ) เชน การเติมวิภัตติ และปจจัย การประสมประสานคํา และกฎทางเสียงของภาษา
( lexical phonological rules ) ในคลังศัพทประกอบดวยคําที่มีหนวยเสียงตางๆ ในระบบเสียงของภาษา
เปนสวนประกอบ เสียงในรูปลึกจะถูกเก็บไวในลักษณะที่เปนองคประกอบของสัทลักษณ
( phonetic features ) และเก็บเฉพาะสัทลักษณยอยที่จําเปน ( marked ) สําหรับเสียงนั้นๆ ในระบบเฉพาะ
ภาษาเทานั้น สัทลักษณยอยใดที่สามารถระบุคาไดโดยกฎซ้ําซอน ( redundancy rules ) ซึ่งอาจจะเปน
กฎเฉพาะของภาษา ( language specific rules ) หรือเปนกฎของไวยากรณสากล ( universal grammar )
สัทลักษณนั้นไมจําเปนตองระบุไว คา + หรือ – ของสัทลักษณเหลานี้จะไดมาจากกฎซ้ําซอน
( redundancy rules ) โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้แนวยึดของไวยากรณเพิ่มพูนก็คือ ความงายหรือซับซอนนอยที่สุด ( simplicity ) ของระบบ
ซึ่งถือวาเปนมาตรวัดที่ใชประเมิน ( evaluation metric ) ไวยากรณที่ดีที่สุดและเหมาะที่สุด
การเก็บขอมูลเสียงในระบบเสียงของภาษา สัทวิทยาเพิ่มพูนยึดหลักของความงายที่สุดวาคือ
การมีจํานวนสัทลักษณที่ตองระบุนอยที่สุด ( minimally specified features ) โดยที่ศัพทแตละคํามีขอมูล
ที่ตองระบุนอยที่สุดในระดับลึก ( lexical minimality ) และมีขอมูลสมบูรณปรากฏเมื่อออกเสียงจริงใน
ชั้นผิว ( fully specification ) ขอมูลสัทลักษณที่ตองระบุเปนขอมูลที่จําเปนที่บงชี้ความเปนเอกลักษณ
ของหนวยเสียงนั้นๆ ( markedness ) ซึ่งขอมูลนี้ไมสามารถคาดเดา ( predict )ได สําหรับขอมูลที่ไมตอง
ระบุในคลังศัพท เปนขอมูลสัทลักษณที่สามารถคาดเดาไดจากบริบทในการเกิดเสียงรวม หรือเปน
ขอมูลสัทลักษณที่เปนคุณสมบัติตามแนวโนมของเสียงโดยทั่วๆ ไปในไวยากรณสากลหรือไวยากรณ
เฉพาะของภาษานั้นๆ อาทิ เชน เสียงสระและพยัญชนะเสียงเปด [+son] จะเปนเสียงกองโฆษะในภาษา
สวนมาก เชนนี้คา [+voice] ไมจําเปนตองระบุสําหรับเสียง [+son] ในคลังศัพท แตคา [+vce]
นี้จะปรากฎเมื่อผูพูดพรอมจะออกเสียงจริง โดยไดคามาจากกฎซ้ําซอน (redundancy rule) ดังนี้
(1) [+son] → [+vce]