Page 51 -
P. 51

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                           44   สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                                          บทที่ 4  สัทลักษณ

                           4.3  แบบจําลองการเก็บสัทลักษณ  (models of feature geometry)


                                แนวคิดที่วาสัทลักษณเปนสวนประกอบยอยของหนวยเสียงนั้น แฮลี (Halle,1964)  ไดกลาวถึง
                           หนวยเสียงวา “เปนการทํางานพรอมๆ กัน สําหรับคุณสมบัติตางๆ ที่รวมกันทําใหเกิดเปนเสียงนั้นๆ”

                           (Goldsmith, 1990:277)  ในการรวมกันของคุณสมบัติตางๆ หรือสัทลักษณตางๆ เหลานี้ ไดมีการเสนอ
                           แบบจําลองของการเก็บสัทลักษณหรือการเก็บเสียงในระดับลึกใน 2 รูปแบบหลัก ดังนี้

                           4.3.4  การเก็บสัทลักษณแบบโรโดเล็กซ  (Rodollex Model of feature geometry)


                                        แบบจําลองนี้ มีแกนพยัญชนะ-สระ (CV-tier)  หรือแกนกระดูกสันหลัง (skeleton  หรือ
                           skeletal tier)  เปนตัวยึดสัทลักษณตางๆ ซึ่งแตละสัทลักษณจะเปนอิสระตอกันหมด และยึดติดกับแกน
                           พยัญชนะ-สระโดยตรง ดังภาพที่ 4.1


                                               F 1

                                        F z           F 2



                                F y            X            F 3           แกนพยัญชนะ-สระ
                                                                          (skeletal tier)

                                        F x           F 4


                                               F
                                                5

                                             ภาพที่ 4.1 แบบจําลองการเก็บสัทลักษณแบบโรโดเล็กซ

                                โดย F , F , …, F , F  แทนคาสัทลักษณแตละสัทลักษณ เชน [sonorant], [voice], [nasal], [low],
                                       2
                                    1
                                                y
                                             x
                           [back]  เปนตน แบบจําลองนี้เสนอโดย เฮลี ในชวงปคศ. 1970  โดยเนนความเปนอิสระตอกันและกัน
                           ของสัทลักษณ หรือความเปนอัตภาคเปนสําคัญ (ดูรายละเอียดในบทที่ 7)

                           4.3.5  การเก็บสัทลักษณแบบลําดับชั้น  (Class-node or Hierarchy model of feature geometry)


                                        แบบจําลองที่ไดมาจากโมฮานัน (Mohanan, 1983) คลีเมนส (Clements, 1985) และเซจีย
                           (Sagey, 1986)  มีลักษณะเปนโครงสรางลําดับชั้นของสัทลักษณโดยจัดสัทลักษณเปนกลุมๆตามลักษณะ

                           การทํางานที่คลายคลึงกัน แตละกลุมสัทลักษณจะมีลําดับชั้นที่เชื่อมโยงประสานกันโดยโครงสรางชั้น
                           สูงสุดจะมายึดกับแกนพยัญชนะ-สระ (CV-tier หรือ skeleton) ซึ่งทําหนาที่เปนแกนหลัก ดังภาพที่ 4.2
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56