Page 48 -
P. 48

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                              สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                                                          บทที่ 4  สัทลักษณ   41



                           4.2.5  การเคลื่อนโคนลิ้น  (Advanced/Retracted Tongue Roots)

                                        มีสัทลักษณที่เรียกวา Advanced Tongue Root  หรือ [ATR]  ที่ใชอธิบายเสียงที่เกิดจาก

                           การเคลื่อนโคนลิ้นไปดานหนาคอ [+ATR]  ขยายชองคอสวนปลายที่หลังคอ (pharyngeal  cavity)
                           หรือเคลื่อนหดไปดานหลัง [-ATR] ทําใหชองคอสวนปลายที่ผนังคอแคบลง


                                        ภาษาที่ใชฐานกรณในสวนนี้ ไดแก  ภาษาอัฟริกันตางๆ เชน อิกโบ (Igbo)    อาคาน
                           (Akan)  เปนตน   เดิมนักสัทศาสตรเขาใจวา การเคลื่อนโคนลิ้นนี้เปนลักษณะการออกเสียงที่เหมือนกับ

                           การออกเสียงสระในภาษาตระกูลเยอรมัน (Germanic  Language)  ที่มีสระเกร็งหรือตึง (tense)    และสระ
                           คลายหรือหยอน (lax) ไดแกภาษาอังกฤษ เปนตน และไดมีสัทลักษณ [tense] สําหรับใชอธิบายเสียงสระคู
                           เสียงตางๆ ที่มีความสูงของลิ้น (tongue  height)  และความเปนหนาหลังของลิ้นในจุดสูงสุดในชองปาก

                           (backness)  ใกลเคียงกัน เชน คูเสียง i และ  +  , u   และ   7 เปนตน นักสัทศาสตรในปจจุบัน ไดแกปเตอร
                           แลดเดอโฟกและไออัน แมดดิสัน (Ladefoged and Maddieson, 1996) จอหน เอสลิง (John Esling ,1996)
                           ไดคนพบจากการศึกษาคลื่นเสียงและเอ็กซเรยวา ความตางของคูเสียงในเรื่องความตึง (tenseness)  เชน

                           เสียงสระในภาษาอังกฤษนี้ เปนเพียงความแตกตางของ 2  ตัวแปร คือความสูงและความเปนหนาหลังของ
                           จุดสูงสุดของลิ้นในชองปากเทานั้น แตความตางของการเคลื่อนโคนลิ้นไปดานหนา หรือหลัง (advanced /

                           retracted tongue root)       เปนความตางของความเปนหนาหลังของโคนลิ้น และระดับสูงต่ําของกลอง
                           เสียง (larynx height) ซึ่งนาจะเปนผลจากการบีบรัดตัวของกลามเนื้อที่กลองเสียง (aryepiglottic sphincter)
                           ในทํานองเดียวกับการออกเสียงที่ผนังคอ (pharyngeal  sound)  แตมีความตางกันในระดับความมากนอย

                           ของความเปนหนาหลังของโคนลิ้นและความสูงต่ําของกลองเสียง

                                        สัทลักษณที่ใชในการเขียนสัทอักษร สําหรับเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนโคนลิ้น [±ATR]
                           เปนดังนี้
                                 C      หรือ    V     =     [+ATR]

                                                            เคลื่อนโคนลิ้นไปดานหนาคอ (Advanced Tongue Root)
                                 C      หรือ   V      =     [-ATR]
                                                            เคลื่อนโคนลิ้นไปดานหลังคอ (Retracted  Tongue  Root)
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53