Page 56 -
P. 56
โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา บทที่ 5 คลังศัพท 49
นอกจากนี้ เราจะเห็นวา สระทั้ง 5 เสียง สามารถจําแนกตางจากกันไดโดยสัทลักษณ High (H),
Low (L), Back (B) เพียง 3 สัทลักษณเทานั้น คา Round (R) เปนคาซ้ําซอนซึ่งไดจากกฎซ้ําซอนเฉพาะ
ของภาษา ( Language Specific redundancy rule ) และไมจําเปนตองระบุในขอมูลเสียงโดยมีกฎดังนี้
(3) [+B,-L] → [+R]
จาก (2) และ (3) เราสามารถระบุขอมูลของตารางที่ 5.1 ใหมไดโดยระบุคา
[syll, cons, H, L, B ] เทานั้น ขอมูลที่เหลือจะไดมาจากกฎซ้ําซอนขอ (3) และ (4)
(4) [-B] → [-R]
[+L]
ตารางที่ 5.2 การระบุสัทลักษณจํานวนนอยที่สุดของเสียงสระ 5 เสียง เมื่อพิจารณากฎซ้ําซอนใน
ไวยากรณสากล
i e a o u
syll + + + + +
cons - - - - -
high + - - - +
low - - + - -
back - - + + +
voice
son
cont
R
เมื่อดูรายละเอียดในตารางที่ 5.2 เราจะพบวาขอมูลที่ระบุนี้ยังไมไดเปนขอมูลที่จําเปนนอยที่สุด
ยังมีขอมูลซ้ําซอนซึ่งสามารถไดมาจากกฎซ้ําซอน (redundancy rule) เพิ่มอีกดังนี้
(5) [+H] → [-L]
(6) [+L] → [-H, +B]
จาก (2) ถึง (6) ขอมูลเสียงที่จําเปนจากตารางที่ 5.1 จะมีลักษณะดังนี้