Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                     ด้วยการแน่ใจว่าสัตว์ได้รับการจัดการในสภาพที่หลีกเลี่ยงต่อการทุกข์
            ทรมานทางจิตใจ เช่นการขนส่ง การจัดการชำแหละ เป็นต้น
                     ในทางปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ดังกล่าว การจัดการเลี้ยงดูให้สัตว์

            มีสุขภาพดีเป็นหัวใจสำคัญ หรือ Good animal husbandry practices ได้แก่
            การให้อาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อสัตว์  การจัดสภาพแวดล้อม
            ที่อยู่อาศัยที่สะอาด โปร่งโล่ง แห้ง สบาย การเลี้ยงปล่อยให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรม
            ธรรมชาติสัตว์ได้ออกกำลัง ไม่กักขัง ไม่เลี้ยงหนาแน่น หรือเลี้ยงขังเดี่ยว เมื่อเจ็บ
            ป่วยต้องรักษา เป็นต้น ซึ่งแปลวิธีการปฏิบัติง่ายๆ ด้วยหลัก 5 อ. ได้แก่ อาหารดี
            อากาศดี อนามัยดี ออกกำลังดี และอารมณ์ดี รวมถึงสวัสดิภาพสัตว์ในการขนส่ง
            และการฆ่าเป็นต้น
                     “ความเครียด” เป็นผลจากการจัดการเลี้ยงสัตว์ไม่ดี จะส่งผลทั้งทาง
            ร่างกายและจิตใจของสัตว์  จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ทราบกันดีว่า

            ความเครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง เป็นความซับซ้อนของระบบในร่างกายของ
            ระบบประสาทและอวัยวะผลิตฮอร์โมน เมื่อเกิดความเครียดระบบประสาทจะส่ง
            สัญญาณให้ต่อมใต้สมอง (hypothalamic-pituitary-adrenal cortex axis(HPA-
            axis) และต่อมหมวกไต (symphathetic-adenal-medullar axis) ทำให้ adrenal
            gland หลั่งฮอร์โมนที่ไปกดการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Plotnikoff และคณะ, 1991)
            ดังนั้นหากสัตว์เกิดความเครียดจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง และทำให้เกิดการ
            สูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่นสัตว์น้ำหนักลด ให้ผลผลิตลดลง คุณภาพสัตว์ลดลง และ

            มีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
                     การทำให้สัตว์มีสุขภาพดีไม่เพียงเพื่อสวัสดิภาพสัตว์เท่านั้น  แต่เพื่อ
            ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะและยาถ่ายพยาธิในการเลี้ยงสัตว์ เพราะการใช้ยา และสารเคมี
            ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของคน
            การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาถ่ายพยาธิทำให้ถูกขับถ่ายออกมากับมูลไปกระทบต่อระบบ
            นิเวศเกษตร คือทำให้จุลชีพในธรรมชาติพัฒนาตัวเองให้ดื้อยา( Waller,1997:
            Sangster, 1999) และประการสำคัญทำให้ยาตกค้างในผลผลิตที่มนุษย์บริโภค มีผล
            ให้คนดื้อต่อยารักษาโรค  ดังนั้นผลิตผลเกษตรอินทรีย์จึงเป็นการสร้างความ






               6  การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13