Page 7 -
P. 7

ิ
                                                    ิ
                                                                                         ุ
                                                                                ั
                                                 ์
                                 ื
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                    ิ
                                              ิ
                                                          4

                       การเคลื่อนที่และหมุนในแกนตั้ง  (vertical axis) เป็นการเลื่อนไปทางด้านบน-ล่าง (superior-
               inferior translation) ซึ่งได้แก่ การกดและแยกจากกัน (compression-distraction) ของกระดูกขอเข่า
                                                                                                  ้
               หรือหมุนรอบแกนตั้งของกระดูก tibia ได้แก่ หมุนเข้าใน-ออกนอก (internal-external rotation) ซึ่งจะ
               สามารถหมุนแบบ active rotation ได้ 30 องศาและทำได้เฉพาะในขณะงอเข่าเท่านั้น

                       การเคลื่อนที่และหมุนในแกนหน้า-หลัง (anterior-posterior axis) เป็นการไถลของกระดูกข้อเข่า
               ไปทางด้านหน้า-หลัง (anterior-posterior translation) หรือหมุนรอบแกนหน้า-หลัง ได้แก การกาง-หุบ
                                                                                           ่
               เข่า  (abduction-adduction)  เข่าสามารถเคลื่อนที่ในแกนนี้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  แต่การงอเข่าทำให้
                        ิ่
               สามารถเพมระยะการกางและหุบเข่า (abduction-adduction) ได้ถึง 30 องศา


                       ระยะการหมุน (range of Motion) ของข้อต่อ tibiofemoral
                       ระยะการหมุนของข้อต่อ  tibiofemoral  รอบแกนด้านใน-นอก  หรือในระนาบด้านข้าง  จากท่า

                เหยียดเข่าสุด (full extension) ที่ 0 องศา ไปยังท่างอเข่าสุด (full flexion) เท่ากับ 140 องศา โดยใน
                การงอเข่าช่วง 0 – 10 องศา เกิดจากการหมุน (rolling) ของ femoral condyles เมื่องอเข่าอยู่ในช่วง

                10 - 140 องศา femoral condyles จะไถล (sliding) ไปบน tibial plateau (ภาพที่ 3C)


                                                                      ภาพที่  3  a)  การหมุนของ  femoral

                                                                      condyles  เพียงอย่างเดียว  จะทำให้

                                                                      กระดูก  femur  หลุดออกจาก  tibia
                                                                      ในขณะงอเข่าสุด  b)  การไถลของ

                                                                      femoral  condyles  เพียงอย่างเดียง
                                                                      จะทำให้กระดูก  femur  ชนกับ  tibia

               (impingement)  ในขณะงอเข่า  c)  การไถลไปข้างหน้าร่วมกับการหมุนมาทางด้านหลังของ  femoral

               condyles ช่วยให้สามารถงอเข่าได้สุด
               ที่มา  Affatato,  S.  Biomechanics  of  the  knee.  In  Surgical  Techniques  in  Total  Knee

               Arthroplasty (TKA) and Alternative Procedures. Elsevier, 2015


                       Screw home mechanism

                       การที่ medial femoral condyle ของกระดูก femur มีส่วนโค้งที่มากกว่า lateral femoral
               condyle  ดังนั้น  การเหยียดเข่าจากท่างอเข่าที่มุม  30  องศา  จะทำให้กระดูก  tibia  หมุนออกนอก

               (external rotation) เมื่อเทียบกับแกนของกระดูก femur ซึ่งช่วย lock ข้อเข่าให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น



                                                  Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12