Page 6 -
P. 6
ิ
ิ
ิ
ิ
์
ื
ุ
ั
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
3
้
การเคลื่อนที่ (translation) และการหมุน (rotation) ของขอต่อ tibiofemoral
ข้อต่อ tibiofemoral เคลื่อนที่ (translation) ได้ 3 แกน และหมุน (rotation) ได้ 3 แกน (6
degree of freedom, 6DOF) ดังแสดงในภาพที่ 2 ดังนี้
การเคลื่อนที่และหมุนในแกนด้านใน-นอก (medial-lateral axis) เป็นการไถลของ
กระดูกไปทางด้านใน-นอก (translation) ของข้อเข่า หรือหมุนรอบแกนด้านใน-นอก ได้แก่ งอ-เหยียดเข่า
(Flexion – Extension) เป็นการหมุนรอบ epicondylar femoral axis โดยที่ข้อเข่าสามารถเหยียดได้สุด
ที่ 0 - 5 (hyperextension) องศา และงอได้ 120 องศา หรืองอได้ถึง 150 องศา เมื่อทำ passive flexion
A) B)
Femur
Femur
Tibia
Tibia
ภาพที่ 2 A) การหมุนของ tibiofemoral joint ของเข่าข้างขวา แบบ 3 มิติ B) การหมุนของ tibiofemoral
่
joint แบบ 3 มิติ ได้แก การกาง-หุบเข่า (abduction-adduction) การงอ-เหยียดเข่า (flexion –
extension) การหมุนเข่าเข้าใน-หมุนเข่าออกนอก (internal-external rotation) และเคลื่อนที่แบบ 3 มิติ
ได้แก การเลื่อนไปทางด้านใน-นอก (Medial-lateral translation) การเลื่อนไปทางด้านหน้า-หลัง
่
(anterior-posterior translation) การเลื่อนไปทางด้านบน-ล่าง (superior-inferior translation)
ที่มา Affatato, S. Biomechanics of the knee. In Surgical Techniques in Total Knee
Arthroplasty (TKA) and Alternative Procedures. Elsevier, 2015.
Hirschmann MT, Müller W. Complex function of the knee joint: the current
understanding of the knee. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc. 2015;23(10):2780-2788.
doi:10.1007/s00167-015-3619-3
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล