Page 4 -
P. 4
ิ
ิ
ั
์
ื
ิ
ิ
ุ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
1
ข้อต่อ Tibiofemoral Joint
ข้อเข่า ประกอบไปด้วย 2 ข้อต่อ ได้แก่ tibiofemoral joint ที่เป็นข้อต่อระหว่างกระดูก femur
กับกระดูก tibia และข้อต่อ patellofemoral joint ที่อยู่ระหว่างกระดูก patella กับกระดูก femur
ข้อต่อ Tibiofemoral
Tibiofemoral joint ประกอบไปด้วย condyles ของกระดูก femur ที่วางอยู่บน tibial
plateau ส่วนปลายของกระดูก femur ประกอบไปด้วย lateral femoral condyle มีขนาดกว้างแต่สั้น
็
กว่า medial femoral condyle ตรงกลางระหว่าง condyle จะเว้าเป็นแอ่งและเป็นจุดเกาะของเอนยึด
ข้อ (ภาพท 1)
ี่
ี่
เอ็นยึดข้อต่อ Tibiofemoral ประกอบไปด้วย (ภาพท 1)
anterior cruciate ligament (ACL) ประกอบไปด้วย 2 มัดย่อย ได้แก่ posterior-lateral
(PL) และ anterior-medial (AM) ทั้ง 2 มัด มีจุดเกาะต้น (origin) อยู่ทางด้านในค่อนไปทางด้านหลังของ
lateral femoral condyle และจุดเกาะปลาย (insertion) เกาะกับ interspinous ทางด้านหน้าของ
tibial plateau มัดย่อย AM จะทำงานมากในขณะที่เข่าอยู่ในท่างอเข่า ส่วนมัดย่อย PL จะทำงานมากใน
ขณะที่เข่าอยู่ในท่าเหยียดเข่า ACL ทำหน้าที่ต้านการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของกระดูก tibia เมื่ออางองกับ
้
ิ
femur โดย 85.1 เปอร์เซ็นต์ และ 87.2 เปอร์เซ็นต์ ของแรงดึงรั้งทั้งหมดที่เกดขึ้นในขณะงอเข่า 90 องศา
ิ
และ 30 องศา ตามลำดับนั้น เกิดจาก ACL
posterior cruciate ligament (PCL) มีจุดเกาะต้น (origin) อยู่ทางด้านข้างค่อนไปทาง
ด้านหน้าของ medial femoral condyle และจุดเกาะปลาย (insertion) เกาะกับทางด้านหลังของ
medial tibial plateau ช่วยต้านการเคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของกระดูก tibia เมื่อเทียบกับ femur โดย
พบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ 96 เปอร์เซ็นต์ ของแรงดึงรั้งที่เกิดขึ้นในขณะทำทดสอบ posterior drawer
ในท่างอเข่า 90 องศา และ 30 องศา ตามลำดับนั้น เกิดจาก PCL
medial collateral ligament เกาะกับ medial epicondyle ของ femur และมีจุดเกาะ
ปลายอยู่ทางด้านนอกของ tibial metaphysis ต้านการเกิด valgus ของเข่า
lateral collateral ligament เกาะกับ lateral epicondyle ของ femur และมีจุดเกาะปลาย
ที่ส่วนหัวของกระดูก fibular ต้านการเกิด varus
anterolateral ligament (ALL) เกาะกับ lateral epicondyle ของ femur และมีจุดเกาะ
ปลายที่ด้านนอกของ lateral meniscus และกระดูก tibia ซึ่งในอดีต ALL ได้ถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของ
พังผืดหุ้มข้อเข่า แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยก anterolateral ligament เมื่องอเข่าที่ 30 – 90 องศา
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล