Page 55 -
P. 55

ื
                                                                                         ุ
                                                    ิ
                                                 ์
                                              ิ
                                    ิ
                                                                ิ
                                                                                ั
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                                         52

               ของ medial meniscus โดย posterior horn รับแรงกดที่เพิ่มขึ้นถึง 3.3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับตอน
               เหยียดเข่า เพื่อช่วยรักษาความมั่นคงของข้อเข่าและรั้งการเลื่อนไปทางด้านหน้าของกระดูก tibia
                       การฉีกขาดของ ACL จะทำให้มีความเค้น (stress) บน medial meniscus มากขึ้นถึง 3 เท่า

               และมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มี ACL ฉีกขาด จะมีการฉีกขาดของ meniscus ร่วมด้วย จากการ

               ทดลองให้แรงกดบนข้อเข่าของผู้ที่เสียชีวิต พบว่า ข้อเข่าที่มี ACL ฉีกขาด จะทำให้แรงกดใน medial
               meniscus เพิ่มขึ้น 52 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเหยียดเข่า และจะเพมมากถึง 197 เปอร์เซ็นต์ เมื่องอเข่าที่มุม
                                                                    ิ่
               60 องศา  การฉีกขาดของ ACL จะทำให้ medial meniscus ในส่วนของ body และ posterior horn
               ถูกกดจนแบนลงจากเดิมมาก ทั้งในขณะเหยียดเข่าที่ 0 องศา และงอเข่าทุกมุม แต่เมื่องอเข่าที่มุม 60 –

               90 องศา จะทำให้ anterior horn ถูกดันให้ยาวขึ้น (ภาพที่ 9) โอกาสเกิดการฉีกขาดของ medial

               meniscus ภายหลังการฉีกขาดของ ACL จึงมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์

                         A                                 B









                                                           D
                        C









               ภาพที่ 9 ในการวัดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ medial meniscus เมื่อตัด ACL เฉพาะมัดย่อย AM

               (AMBT) หรือตัดมัดย่อย PL (PLBT) หรือ ตัด ACL ออกทั้งหมด (ACL-T) โดยเปรียบเทียบกับเข่าที่มี ACL
               (ACL-I) เมื่อ A) การเหยียดเข่าที่ 0 องศา B) งอเข่าที่มุม 30 องศา C) งอเข่าที่มุม 60 องศา D) งอเข่าที่มุม


               90 องศา เมื่อ  หมายถึง แตกต่างกับเข่าที่มี ACL (ACL-I) ที่ p < 0.05
               ที่มา Jiang W, Gao SG, Li KH, et al. Impact of Partial and complete rupture of anterior

               cruciate ligament on medial meniscus: A cadavaric study. Indian J Orthop. 2012;46(5):514-
               519. doi:10.4103/0019-5413.101040



                                                  Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60