Page 56 -
P. 56
ุ
ื
ั
ิ
์
ิ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
53
การหมุนเข่าเข้าใน (internal rotation) และหมุนออกนอก (external rotation) ก็ทำให้
meniscus เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังมากที่สุดเช่นกัน ในการทดลองหมุนเข่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีเข่าปกติ
ในขณะที่นอนงอเข่า 20 องศา ด้วยโมเมนต์ 5 Nm ร่วมกับแรงกด 5 N แล้วบันทึกภาพภายในข้อเข่าด้วย
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พบว่า เมื่อหมุนเข่า หมอนรองกระดูกข้อเข่ามีการเคลื่อนที่ในแกนหน้า-หลัง
(AP) มากกว่าแกนด้านใน-ด้านนอก (ML) ดังแสดงในภาพที่ 10 ดังนี้
A B
ภาพที่ 10 การเคลื่อนที่ของ meniscus ตามแกนด้านใน-ด้านนอก (ML) และแกนหน้า-หลัง (AP) เมื่อ A)
หมุนเข่าเข้าใน และ B) หมุนเข่าออกนอก เวคเตอร์การเคลื่อนที่ของ anterior horn (AH), intermediate
horn (IH), posterior horn (PH) ของ meniscus แสดงด้วย ลูกศรสีเหลือง ลูกศรสีแดง และลูกศรสีดำ
ตามลำดับ ส่วนปริมาณการเคลื่อนที่ในแต่ละแกนแสดงในตารางใต้ภาพ (เครื่องหมายบวก คือ lateral
และ posterior translations) และ ทางซ้ายของภาพ คือ lateral meniscus ทางขวาของภาพ คือ
medial meniscus
ที่มา Fuchs A, Georgii J, Taghizadeh E, et al. In-vivo assessment of meniscal movement in
the knee joint during internal and external rotation under load. J Exp Orthop.
2022;9(1):102. Published 2022 Oct 4. doi:10.1186/s40634-022-00540-5
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล