Page 52 -
P. 52
์
ิ
ิ
ื
ิ
ุ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
ั
ิ
49
การยึดระหว่าง medial meniscus กับ lateral meniscus
anterior intermeniscal ligament มีความยาว 33 มิลลิเมตร และความกว้าง 3 มิลลิเมตร ทำ
หน้าที่ ยึด anterior horn ของ medial กับ lateral menisci ไว้ด้วยกัน ส่วน posterior intermeniscal
ligament ทำหน้าที่ ยึด posterior horn ของ medial กับ lateral menisci ไว้ด้วยกัน (ภาพที่ 7)
A) B)
ภ า พ ที่ 7 A) intermeniscal ligament B)
anterior meniscofemoral ligament (AMFL)
แ ล ะ posterior meniscofemoral ligament
(PMFL)
ที่มา McDermott ID, Masouros SD, Amis AA, Biomechanics of the menisci of the knee.
Current Orthopaedics, 2008; 22 (3): 193-201, doi.org/10.1016/j.cuor.2008.04.005
หมอนรองกระดูกข้อเข่ามีหน้าที่หลัก คือ กระจายแรงกดบนกระดูกและดูดซับแรงกระแทก เข่าที่
มีหมอนรองกระดูกข้อเข่าจะดูดซับแรงกระแทกได้มากกว่าเข่าที่ไม่มีหมอนรองกระดูกข้อเข่าถึง 20
เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ meniscus ยังมีหน้าที่รอง ได้แก่ เพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า หล่อลื่นข้อเข่า (joint
lubrication) กระจายสารอาหาร รับรู้เกี่ยวกับการทรงท่าและการเคลื่อนไหว (sensory and
proprioception) นอกจากนี้ meniscus ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงของเข่า โดยจำกัดการเคลื่อนที่ไป
ทางด้านหน้าของกระดูก tibia เมื่องอเข่าจะทำให้ meniscus เคลื่อนที่ไปทางด้านหลัง (posterior
translation) ส่วน posterior horn ของmedial meniscus ยังมีหน้าที่รองในการเพิ่มความมั่นคงใน
ขณะที่ข้อเข่ามีการหมุนออกนอก
คุณสมบัติทางกลของหมอนรองกระดูกข้อเข่า
เนื้อเยื่อชั้นในของหมอนรองกระดูกข้อเข่า มีปริมาณของ collagen type II เป็นส่วนใหญ่ และมี
ปริมาณของ proteoglycan มากกว่าชั้นนอก รวมทั้งมีเซลล์ที่มีลักษณะกลมเหมือน chondrocyte
เนื้อเยื่อชั้นในจึงคล้ายและมีคุณสมบัติเหมือนกับกระดูกอ่อนผิวข้อ (cartilage) เมื่อมีแรงกดจากกระดูก
femur กดลงมาที่ meniscus จะมีแรงต้านซึ่งเกิดจาก osmotic pressure ที่ประจุลบของ aggrecan จับ
กับประจุบวกของน้ำ ทำให้เกิดความแข็ง (aggregate modulus) ประมาณ 100 – 150 kPa นอกจากนี้
เนื้อเยื่อของหมอนรองกระดูกข้อเข่า มีการขยายตัวทางด้านข้างตามแนวเส้นรอบวงและขยายตัวตามแนว
รัศมี เนื่องจากการกดลงมาของกระดูก femur หมอนรองกระดูกข้อเข่ามีความแข็งต่อการดึง (tensile
modulus) ตามแนวเส้นรอบวงประมาณ 100 – 300 MPa แต่มีความแข็งต่อการดึงตามแนวรัศมี น้อย
กว่าประมาณ 10 เท่า (ตารางที่ 3) และมีความแข็งต่อแรงเฉือน (shear modulus) ประมาณ 120 MPa
Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล