Page 16 -
P. 16

ิ
                                    ิ
                                                                ิ
                                                 ์
                                 ื
                                                                                ั
             โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสเฉลมพระเกียรต สมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร                  ี
                                                    ิ
                                                                                         ุ
                                                                 13

                              3.     ภาวะอ้วน  ผู้ที่มีน้ำหนักปกติ  ด้านในของ  tibiofemoral  joint  จะรับแรงกด  63
                       เปอร์เซ็นต์ แต่ในเด็กอ้วนที่มีไขมัน 42.1 + 5 เปอร์เซ็นต์ ด้านในของ tibiofemoral joint ต้องรับแรงกด
                       เพิ่มขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 14


                       A)                           B)                                                             C)















                       ภาพที่ 14 A) การโมเดลกระดูกและกล้ามเนื้อ B) ปริมาณแรงกดที่ ด้านใน (medial compartment) และ
                       ด้านนอก (lateral compartment) ของ tibiofemoral joint ต่อน้ำหนักตัว (BW) และ C) สัดส่วนที่ด้าน

                       ในของ tibiofemoral joint รับแรงกด โดยเส้นสีดำ คือ กลุ่มเด็กอ้วน เส้นสีเทา คือ กลุ่มเด็กน้ำหนักปกติ

                       ที่มา Lerner ZF, Board WJ, Browning RC. Pediatric obesity and walking duration increase
                       medial  tibiofemoral  compartment  contact  forces. J  Orthop  Res.  2016;34(1):97-105.

                       doi:10.1002/jor.23028


                              4.     ความผิดปกติของข้อสะโพกและข้อเท้า ส่งผลต่อความผิดปกติของข้อเข่าและแรงกดบน

                       กระดูก ตามที่ข้อเข่าประกอบไปด้วย ส่วนปลายของกระดูก femur วางลงบนส่วนต้นของกระดูก tibia
                       โดยที่ส่วนบนของกระดูก femur เชื่อมต่อกับ acetabulum ของกระดูกเชิงกราน ประกอบเป็นข้อสะโพก

                       ดังนั้นการเคลื่อนที่ของกระดูก femur ส่วนต้นที่บริเวณข้อสะโพก จึงส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของข้อเข่า ใน

                       ขณะเดียวกัน ส่วนปลายของกระดูก tibia เชื่อมต่อกับ กระดูก talus ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเท้า การ
                       หมุนของข้อเท้าและเท้า จึงส่งผลต่อข้อเข่าเช่นกัน ผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน มักจะมีภาวะข้อเข่า

                       หุบเข้าใน (knee valgus) และเท้าอยู่ในลักษณะ overpronation ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอุ้งเท้าแบน (ภาพ

                       ที่ 15) นอกจากนี้ในผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนและผู้ที่มีกล้ามเนื้อ gluteus Medius ไม่แข็งแรง มักจะมีการหุบเข้า
                       ของข้อสะโพก (hip adduction) และหมุนเข้าในของกระดูก femur จึงส่งผลให้มีภาวะข้อเข่าหุบเข้าใน

                       (knee valgus) หรือกระดูก tibia กางออก(tibial abduction) ได้เช่นกัน และทำให้ patella เคลื่อนที่ไป
                       ทางด้านนอกและหมุนมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของแรงกดบนกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิด

                       ภาวะกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมและมีอาการปวดที่ข้อ tibiofemoral และ patellofemoral ได้




                                                          Clinical Biomechanics of Knee ผศ.ดร.สิริพร ศศิมณฑลกุล
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21