Page 34 -
P. 34
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12
ซึ่งแผนต่าง ๆ ที่ได้ทำการศึกษานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลและเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดแผน
ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อการพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SECr) ทั้งสิ้น
2.2 ข้อมูลบริบททางเศรษฐกิจของ าคใต ้
ภาคใต้มีเนื้อที่รวมประมาณ 44.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.8 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วย 14
ู
จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตล
ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต, 2563) โดยมีโครงสร้าง
ิ
ทางเศรษฐกิจมาจากภาคเกษตร 319,610 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.69 และภาคอุตสาหกรรม 219,369
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ (Gross Regional Product, GRP) ณ ราคา
้
ิ
ี่
ตลาด ในปี พ.ศ. 2562 (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต, 2564) ทั้งนี้ พื้นทภาคใตยังคง
พึ่งพาภาคการเกษตรและภาคการประมงเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีพืชเศรษฐกิจท ี่
สำคัญ คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง และไม้ผล โดยข้อมูลบริบททางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใตมีรายละเอียด
้
ดังนี้
2.2.1 าคเกษตร
ภาคเกษตรถือเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของภาคใต้มาโดยตลอด โดยในปี พ.ศ. 2563 ภาคใต้มีเนื้อท
ี่
ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร 21,748,728 ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564b) คิดเป็นร้อยละ 49.2 ของ
เนื้อที่รวมทั้งภาค มีครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 1,626,178 ครัวเรือน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564a)
และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร ณ ราคาตลาด ในปี พ.ศ. 2562 เท่ากับ 319,610 ล้านบาท คดเป็น
ิ
ร้อยละ 21.69 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาค (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต,
ิ
2564) โดยกิจกรรมการผลิตภาคเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมงและ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และไม้ผล
ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของปี พ.ศ. 2563 พบว่า สาขาการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของ
ภาคใต้ คือ สาขาพืช ซึ่งมีสัดสวนถึงร้อยละ 59.5 ของผลิตภัณฑ์ภาคภาคเกษตร หรือ GRP ภาคเกษตร
่
รองลงมา ได้แก่ สาขาประมง สาขาปศุสัตว์ สาขาป่าไม้ และสาขาบริการทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 33.2,
4.1, 3.1 และ 0.20 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจการเกษตรภาคใต้ในชวง
่
ปี พ.ศ. 2563 เทียบกับปีก่อนหน้า พบว่า สาขาพืชมีการหดตัวร้อยละ 0.3 เนื่องจากผลผลิตพืชที่สำคัญ ไดแก่
้
ปาล์มน้ำมันและยางพารามีผลผลิตลดลง สาขาปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการ
ฟาร์มที่ดี ประกอบกับความต้องการของตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งสุกร ไก่เนื้อ และโคเนื้อ เช่นเดียวกับสาขา
ประมงที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ในขณะที่ สาขาป่าไม้ขยายตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากเกษตรกรตัดโค่นไม้ยางพาราท ี่
ี
มีอายุมากเพิ่มขึ้นตามนโยบายส่งเสริมการลดพื้นที่ปลกยางพาราและสนับสนุนให้ปลูกแทนดวยยางพันธุ์ดหรือ
ู
้
พืชเศรษฐกิจอื่นทดแทน โดยเฉพาะทุเรียนและปาล์มน้ำมันซึ่งมีตลาดรองรับ ส่วนสาขาบริการทางการเกษตร
หดตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากเกษตรกรชะลอการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกใหม่ไม้ยืนต้นและไม้ผลเศรษฐกิจ จาก
ข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงานและเครื่องจักรกลการเกษตรในช่วงที่มีประกาศ พ.ร.บ. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน