Page 25 -
P. 25
ิ
์
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
3
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
1. รวบรวมผลงานวิจัยในเรื่องปาล์มน้ำมัน (Research eco-system) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - 2562 จาก
หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยต่าง ๆ เช่น วช. และ สวก. เพื่อประเมินถึงการจัดสรรทุนวิจัยกลุ่มเรื่อง
ปาล์มน้ำมันตามห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครอบคลุมผลงานวิจัยของ
ื่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานวิจัยปาล์มน้ำมันทั้งหมด รวมทั้งระบุความเชอมโยง
กับโครงการวิจัยเดิมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว
2. ศึกษาแนวทางการวิจัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันของต่างประเทศ เชน
่
อินโดนีเซียและมาเลเซีย ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางให้กับ
ประเทศไทย
ู้
์
3. รวบรวมปัญหาและสถานการณ์เรื่องกลุ่มปาลมน้ำมันในปัจจุบัน โดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผมีสวนได ้
่
ส่วนเสียในวงจรห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และการตลาด
4. รวบรวมความต้องการด้านการวิจัยกลุ่มปาล์มน้ำมันที่จำเป็นในการรองรับความต้องการในอนาคต
ตามลำดับความสำคัญ และระบุถึงประเภทกลุ่มงานวิจัยที่ควรให้ความสำคัญ รวมถึงศึกษาความ
พร้อมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัยของ SECr เพื่อพัฒนา
แผนยุทธศาสตร์การวิจัย ตลอดจนประเด็นโจทย์วิจัยของ SECr ที่ควรดำเนินการในอนาคต
5. ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้าง Public - Private - Partnerships หรือ Multilateral Agreement
ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การวิจัยของ SECr ในอนาคต
6. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อมุ่งสู่ฐานการพัฒนา SECr ในแต่ละช่วงระยะเวลา
1.4 กรอบแนวความคิดของการวิจัย
ี่
กรอบแนวความคิดในการจัดทำโครงการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อการพัฒนาศูนย์ความเชยวชาญ
์
การวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SECr) นั้น จะต้องมีการรวบรวมทบทวนงานวิจัยกลุ่มเรื่องปาลม
น้ำมันที่ได้ดำเนินการในอดต และการสอบถามจากหน่วยงานภาครัฐ นักวิจัย เกษตรกร และผู้ประกอบการใน
ี
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพโดดเด่นในพื้นท เพื่อนำมาจัดทำเป็น
ี่
โครงสร้างการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ของกลุ่มงานวิจัยเรื่องปาล์มน้ำมันที่จะสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายใน
การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการวิจัยกลุ่มเรื่องปาล์มน้ำมันของหน่วยงานต่าง ๆ โดยแบ่งกลุ่มประเภท
งานวิจัยตามหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่จัดทำขึ้น ซึ่งในการจัดทำข้อมูลจะต้องมีการแบ่งประเภทของงานวิจัย
ตามขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางด้านการจัดสรรงบประมาณการวิจัยในอดีตจนถึง
ปัจจุบัน และสะท้อนถึงปริมาณงานวิจัยและงบประมาณที่ได้สนับสนุนในแต่ละเรื่อง
์
จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลปัญหาในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาลมของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านการผลิตและการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์จากปาลมน้ำมันในอนาคต เพื่อนำมาใช้กำหนดทิศทางและการพัฒนาแนวทางการวิจัยทเหมาะสมใน
ี่
์
อนาคตต่อไป ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดลำดับความสำคัญของประเด็นในการวิจัย (Strategy Research