Page 25 -
P. 25
ิ
ิ
์
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10
บทที่ 2
การจัดที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นที่ดินจึงเป็นปัจจัย
หลักในการประกอบอาชีพ แต่ปัญหาการขาดไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรยังคงเป็นปัญหาที่รัฐบาลทุกยุคทุก
สมัยต้องดำเนินการแก้ไขจนกระทั่งปัจจุบัน สำหรับนโยบายการแก้ไขปัญหาการขาดไร้ที่ดินทำกินของ
เกษตรกร พบว่ามีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยการจัดสรรที่ราชพัสดุให้กับ
สมาชิกสหกรณ์เช่าซื้อ หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ขึ้นมาหลายประเภท จนกระทั่งมีการจัด
ที่ดินในรูปนิคมสร้างตนเองและนิคมอพยพราษฎรออกจากเขตน้ำท่วมให้แก่ราษฎรตามพระราชบัญญัติจัดที่ดิน
เพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2484 โดยกรมประชาสงเคราะห์ (ซึ่งต่อมาได้แกไขกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติ
้
จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511) นอกจากนี้ ต่อมายังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดินให้ประชาชน
7
หลายฉบับ เช่น การจัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน การจัดที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพอ
ื่
เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เป็นต้น และกรณีการจัดที่ดินตามนโยบายของรัฐโดยอาศัยกฎหมายต่าง ๆ เช่น
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดที่ดินในระยะแรก รวมทั้งบทบัญญัติ
ในการจัดที่ดินที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต่างมีลักษณะเป็นการจัดที่ดินให้แก่ปัจเจก
บุคคลแต่ไม่อยู่ในรูปของชุมชน
สำหรับแนวคิดการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในรูปของโฉนดชุมชนนั้นเริ่มมีขึ้นในปี 2551 ทั้งนี้ตาม
นโยบายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนกระทั่งได้เปลี่ยนผ่านมาสู่การออกนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้
ชุมชนในรูปแบบแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ในสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในปี 2557
นโยบายดังกล่าวนี้ได้รับการดำเนินงานเรื่อยมา ปัจจุบันการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งในบทนี้ จะได้ทำการทบทวนพัฒนาการการจัดที่ดินทำกินให้
ชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงรวบรวมบทเรียนในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวจากงาน
ศึกษาวิจัยที่ผ่านมา
2.1 พัฒนาการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
นโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เริ่มมีขึ้นในสมัยรัฐบาลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น
นายกรัฐมนตรี ซึ่งใน พ.ศ. 2551 ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรยากจนในรูป
ของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่
ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของ “โฉนดชุมชน” ซึ่งนำไปสู่การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มี
8
7 อิทธิพล (2561), หน้า 10.
8 คณะรัฐมนตรี (2551), หน้า 20.