Page 22 -
P. 22

์
                                          ิ
                                                                  ิ
                                                                              ิ
                            ื
                               ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                            7

                       2.1) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
                       การวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขเชิงปริมาณ แต่เป็นข้อมูล

               เกี่ยวกับคุณลักษณะ รายละเอียดของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงกระบวนการเกิดปรากฏการณ์และความ

               คิดเห็นต่าง ๆ โดยในการศึกษานี้ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview
               Research) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Research) เป็นหลัก ประกอบกับการพูดคุยอย่างไม่เป็น

               ทางการและการสังเกต (Observation)

                       (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Research)
                       การสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) โดยผู้วิจัย

               จะกำหนดแนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เฉพาะในประเด็นหลัก ๆ และในการสัมภาษณ์จริง อาจมีการ
               ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม หรือลดคำถามในประเด็นปลีกย่อยได้ตามความเหมาะสมตามบริบท ซึ่งจะทำให้การ

               สัมภาษณ์มีความยืดหยุ่น แต่ยังอยู่ภายใต้กรอบคำถามหลักซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบร่วมกันได้

                       สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก จะใช้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายที่เลือกจำนวน 2 พื้นที่ รวมถึง
               เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง เจ้าหน้าที่รัฐส่วนภูมิภาค และเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย

                       (2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Research)
                       การสนทนากลุ่ม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการนั่งสนทนาของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่ม โดย

               พิจารณากลุ่มเป้าหมายบนพื้นฐานของการเป็นกลุ่มที่สามารถเป็นตัวแทนในการตอบคำถามการวิจัยได้

               สำหรับการสนทนากลุ่ม จะใช้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายที่เลือก จำนวน 2 พื้นที่
                       2.2) แนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้ในกำหนดกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูล

                       ด้วยการศึกษานี้ มุ่งหมายที่จะทบทวนหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชน ในเขตป่า

               สงวนแห่งชาติ ซึ่งการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติซึ่งดำเนินงานตามนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนได้
               ดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น ส่วนหนึ่งจึงเป็นการประเมินว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่บรรลุผลตาม

               วัตถุประสงค์ของโครงการหรือนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนหรือไม่ ในการศึกษานี้ จึงได้นำแนวคิดการ
               วิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) มาปรับใช้ เพื่อที่จะเปรียบเทียบระหว่างการวางโครงการหรือ

               นโยบายกับการกระทำเพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานตามโครงการหรือนโยบายดังกล่าวนี้บรรลุผลหรือไม่

               เพียงใด หรือมีความเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่วางแผนไว้หรือไม่ ถ้าเบี่ยงเบนมากจะได้หาวิธีปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้
               การปฏิบัติจริงนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                       2.3) พื้นที่เป้าหมาย
                       ตามโจทย์วิจัยของการศึกษานี้ จะทำการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้

               ชุมชน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นประเภทที่ดินที่มีความสำคัญซึ่งมีเนื้อที่

               เป้าหมายในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเงื่อนไขด้านทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่ จึง
               มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาแบบเจาะลึกโดยเลือกพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของชุมชนที่ใช้ที่ดินเพื่อทำการ

                                                                                                    ื้
               เกษตรกรรม โดยเลือกพื้นที่สามารถเป็นตัวแทนของชุมชนที่ทำการเกษตรกรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พนที่ที่มี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27