Page 21 -
P. 21
ิ
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6
2507 พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เป็นต้น
3. วิเคราะห์บทเรียนจากการดำเนินงานของรัฐที่ผ่านมา เกี่ยวกับการจัดที่ดินให้แก่ประชาชนและ
นโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน โดยเน้นถึงปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานของรัฐไม่ประสบ
ความสำเร็จ ผลกระทบการดำเนินงานดังกล่าว และชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาทั้งในเชิงนโยบาย กฎหมาย
และองค์กร
4. ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่เป้าหมาย ในที่ดินประเภทป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 2 พื้นที่ เพอ
ื่
รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่และคนในพื้นที่ ลักษณะการถือครองที่ดิน การดำรงชีวิต และ
การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ ตลอดจนข้อเท็จจริง ปัญหา และอุปสรรคในกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้
ชุมชน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว
5. วิเคราะห์ข้อจำกัดและอุปสรรคในเชิงนโยบาย กฎหมาย และองค์กร ที่มีผลต่อการจัดที่ดินและการ
ใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีผลต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนและการแก้ไขการบุกรุก
พนที่ป่าได้อย่างถาวร และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพได้อย่างยั่งยืน ตามข้อเท็จจริงที่ได้
ื้
จากการปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย
6. สังเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การ
จัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ชุมชน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ คุณสมบัติของผู้ที่สมควรจะได้รับการจัดที่ดิน การใช้
ประโยชน์ที่ดิน สิทธิในที่ดิน และประโยชน์ตอบแทนรัฐที่เหมาะสม
1.4 วิธีดำเนินการวิจัย
1) การศึกษาข้อมูลทุติยภูม ิ
การศึกษาค้นคว้า และสังเคราะห์ข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย เอกสารทางราชการ เอกสารทางวิชาการ
รายงานการวิจัย สิ่งพิมพ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร และจาก
อินเตอร์เน็ต
2) การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการพยายามที่จะเข้าใจเกษตรกร
ที่ได้รับการจัดที่ดินจากมุมมองและทัศนะของเกษตรกรแต่ละราย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำความเข้าใจ
ปรากฎการณ์ต่าง ๆ และสนใจที่กระบวนการที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้น ซึ่งเป็นการศึกษาแบบอุปมาน
(Inductive Approach) กล่าวคือ เป็นการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมแต่ละอย่าง เพื่อหา
คำอธิบายพฤติกรรมเหล่านั้น มากกว่าที่จะใช้ทฤษฎีที่เป็นสากลมาอธิบายปรากฎการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล
ภาคสนามในพื้นที่เป้าหมาย ดำเนินการโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Research) และ
การสนทนากลุ่ม (Focus Group Research) เป็นหลัก ประกอบกับการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและการ
สังเกต (Observation)