Page 16 -
P. 16

ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                          ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                               ิ
                                             ์
                                                            1

                                                         บทที่ 1

                                                         บทนำ



               1.1   ที่มาและความสำคัญ

                       การจัดที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ดำเนินการมาโดย
               ตลอดในทุกรัฐบาล โดยในระยะเริ่มแรก คือ การจัดตั้งนิคมสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยกรมส่งเสริม

               สหกรณ์ และการจัดที่ดินในรูปนิคมสร้างตนเองและนิคมอพยพราษฎรออกจากเขตน้ำท่วมให้แก่ราษฎร ตาม

                                     ื่
                                                                                      1
               พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพอการครองชีพ พุทธศักราช 2485 โดยกรมประชาสงเคราะห์  ซึ่งได้มีการยกเลิกและ
               แก้ไขกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 มีการออก
               พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยสำนักงานการปฏิรูป

               ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการจัดที่ดินให้แก่ประชาชนตาม
               กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหลายฉบับ อาทิ กรมที่ดินจัดที่ดินให้กับ

               ประชาชนตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรมป่าไม้และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดที่ดินตามมติ

               คณะรัฐมนตรีและพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นต้น แต่หลังจากที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ
               วันที่ 22 มิถุนายน 2525  แล้ว การจัดที่ดินของหน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องยุติลงหรือไม่สามารถขยายโครงการ
                                    2
               ต่อไปได้ คงเหลือหน่วยงานหลักทำหน้าที่ในการจัดที่ดิน คือ ส.ป.ก. ส่วนหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายให้อำนาจจัด
               ที่ดิน เช่น กรมที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมประชาสงเคราะห์ ดำเนินการจัดที่ดินเพอรักษางานเดิมหรือ
                                                                                         ื่
               ดำเนินการในพื้นที่เฉพาะตามนโยบายเท่านั้น
                       เนื่องด้วยการจัดที่ดินให้แก่ประชาชนอยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับได้กำหนด

               หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดที่ดิน รวมถึงการให้สิทธิในที่ดินและเอกสารสิทธิในที่ดินไว้แตกต่างกัน

               ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ ขาดความเป็นเอกภาพ และทำให้เกิดการเปรียบเทียบ
               และความได้เปรียบและเสียเปรียบในหมู่ประชาชนผู้ที่ได้รับจัดที่ดิน ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินที่ไม่เท่าเทียมกัน

               และทำให้มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่หลากหลาย ไม่สามารถป้องกันการบุกรุกทดินของรัฐ รวมทั้งไม่สามารถแก้ไข
                                                                             ี่
                                                           3
               ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินให้กับประชาชนได้อย่างถาวร




               1  มูลนิธิสถาบันที่ดิน. มีนาคม 2544. รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินและ
                                    ์
               มาตรการทางเศรษฐศาสตรและกฎหมายเพื่อให้การใช้ประโยชน์จากที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด”. ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย
               จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). หน้า 3-16.
               2   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 2525 เรื่อง นโยบายการใช้และกรรมสิทธิ์ที่ดิน
               3   อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ และคณะ. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการศึกษาวิจัยและยกร่างกฎหมายว่าด้วยการจัด

               ที่ดิน”. ภายใต้คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสิทธิให้มีความเป็นเอกภาพ เสนอต่อ
                        ิ
               สำนักเลขาธการคณะรัฐมนตรี.
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21