Page 68 -
P. 68

ิ
                                             ์
                               ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       52

                        3.1.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา

                        งานวิจัยนี้ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่

               หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากข้อมูล
               เอกสารและการลงสำรวจพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์และค้นหาองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและ

               แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พร้อมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาภาพรวมของแหล่งท่องเที่ยวเชิง
               เกษตร ที่นำไปสู่การค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่

               ระบาดของ Covid-19

                        3.1.3 ขอบเขตด้านประชากร
                        ขอบเขตด้านประชากรที่เป็นเพศชายหรือหญิง มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปี ที่เป็นนักท่องเที่ยวในแหล่ง

               ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความหลากหลายและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว วิธีการเก็บตัวอย่างจากประชากร
               โดยการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

               (Purposive  sampling) เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ปริมาณมาก

               ยกเว้น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเอกชนที่มีจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามฤดูกาลหรือช่วงเทศกาล เช่น
               จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม จังหวัดนครราชสีมา เจียไต๋ฟาร์ม จังหวัดกาญจนบุรี สวนผลไม้ภาคตะวันออก งานฤดู

               หนาวภาคเหนือ เป็นต้น การเก็บตัวอย่าง โดยสูตรของคอแครน (Cochran, 1977) ในกรณีที่ไม่ทราบขนาด

               ของประชากรที่แน่นอน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ 5% มีค่าเท่ากับ
               384 หน่วย และการสุ่มตัวอย่างในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทยครอบคลุมทุกภูมิ จากระบบจัดการ

               ฐานข้อมูลออนไลน์ของกรมการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวที่ยินดีให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในแหล่ง
               ท่องเที่ยวพื้นที่ตัวอย่างที่มีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อป้องกันข้อมูลมีความผิดพลาด (Error) จึงกำหนด

               กลุ่มตัวอย่างมากกว่าค่าที่คำนวณ การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key Informants) และเพื่อให้ครอบคลุม

               6 ภูมิภาคของประเทศไทย


               3.2 วิธีดำเนินการ

                        การค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาด

               ของ Covid-19 มีวิธีดำเนินการตามระยะการวิจัย ดังนี้
                        ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงผสมผสาน ประกอบด้วย

                        1.1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตร
               เกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19

               เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 โดยจะทำการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง
               นักท่องเที่ยวชาวไทย ครอบคลุม 6 ภูมิภาคของประเทศไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความหลากหลาย

               และเป็นที่นิยมของนักทองเที่ยว จำนวน 600 ตัวอย่าง แบ่งเป็นจังหวัดละ 100 ตัวอย่าง ประกอบด้วย จังหวัด
                                   ่
               สมุทรสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัด
               นครราชสีมา โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73