Page 69 -
P. 69

์
                                          ิ
                               ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       53

               ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับความสำคัญใช้เครื่องมือ One-way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบ

               ความแตกต่างของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่าง ๆ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe Method) (Christensen, 2020) เพอ
                                                                                                        ื่
               สรุปและนำมาจัดทำเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) (เรวัต แสงสุริยงค์, 2559) การใช้
               แบบสอบถาม (Questionnaire) ได้จัดทำข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มี

               ผลสรุปจากข้อคำถามที่มีการทดสอบแล้ว พร้อมทั้งมีการทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ
               และหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง (IOC) และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) จากการคำนวณค่า

               สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient) รวมทั้ง แบบสอบถามดังกล่าว ได้รับการ

               รับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               กับประชากรคือนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อให้ได้ประเด็นความต้องการและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มีความ

               สอดคล้องกับการทบทวนเอกสาร (เรวัต แสงสุริยงค์, 2559) เพื่อทราบถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตร
               ในภาพรวมของประเทศไทย องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวตามหลัก 5As

                        1.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์

               กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและผู้ประกอบการ จำนวนประชากรไม่สามารถระบุได้ (จำเนียร จวงตระกูล, 2561)
               เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ครอบคลุม 6 ภูมิภาคของประเทศ

               ไทย ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความหลากหลายและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว จำนวน 180 คน

               แบ่งเป็นจังหวัดละ 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
               จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครราชสีมา เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและพฤติกรรม

               ผู้ประกอบการ ในเชิงวิชาการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการพัฒนาบุคลากรและ
               แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-

                                                                                                      ื่
                                ้
               19 ทำการรวบรวมขอมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธี Thematic Analysis (Braun & Clarke, 2006) เพอให้
               ได้ผลการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวตาม
               หลัก 5As

                        ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้กรอบแนวคิดเชิง
               คุณภาพในการตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมบริการ (Service Industry Paradigm) ของ Sangnak,

               Poo-Udom, Tintabura, and Intarajak (2021) กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและผู้ประกอบการ กับนักท่องเที่ยว

               ชาวไทยและผู้ประกอบการ จำนวนประชากรไม่สามารถระบุได้ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2564
               โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ครอบคลุม 6 ภูมิภาคของประเทศไทย ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีความ

               หลากหลายและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว จำนวน 180 คน แบ่งเป็นจังหวัดละ 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

               จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัด
               นครราชสีมา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงนโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติ

               ใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยวิเคราะห์แก่นของเรื่อง นำมาทำสรุปเรียบเรียง เพื่อทวนสอบ

               ข้อมูลเชิงปริมาณว่ามีความสอดคล้องของข้อมูล และนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
               (Key informants) ในระยะที่ 3 (Kvale & Brinkmann, 2009, Qu & Dumay, 2011)
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74