Page 67 -
P. 67

ิ
                                          ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
                                             ์
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       51

                                                         บทท 3
                                                              ี่

                                               ระเบียบวิธีดำเนินการวิจัย




                         การวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่

               ระบาดของ Covid-19” เป็นการวิจัยแบบหลายขั้นตอน (Multiphase mixed methods) โดยการวิธีเชิง
               ผสมผสาน (Mixed-Methods) วิธีเชิงปริมาณ (Quantitative research approach) ผสมผสานกับวิธีเชิง

               คุณภาพ (Qualitative research approach) เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยไม่มีการ
               ตั้งสมมติฐานเพื่อลดความเอนเอียงจากผู้วิจัยของผลการวิจัย (Creswell, 2014) โดยมีวิธีวิทยาการวิจัย ดังนี้



                                       ั
               3.1 รูปแบบและวิธีการคดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
                        3.1.1 ขอบเขตด้านพื้นที่
                        พื้นที่งานวิจัยครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย (กรมการท่องเที่ยว, 2562) โดย

                                                 ่
               การเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่นักทองเที่ยวให้ความนิยม เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้ง พิจารณาจากการ
               ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งการท่องเที่ยวเป็นการสร้างรายได้ที่สำคัญที่ขับเคลื่อน

                                                                ่
               ระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นความต้องการของนักทองเที่ยวที่เป็นผู้ใช้จ่ายเงิน เพื่อค้นหานวัตกรรมการ
               ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งสร้างรายได้ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศ จากฐานข้อมูลที่
               น่าเชื่อถือได้ จากระบบจัดการฐานข้อมูลออนไลน์ของกรมการท่องเที่ยว ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

               จำนวน 296 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมเพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาค

               (กรมการท่องเที่ยว, 2562) เนื่องจากยังไม่ทราบจำนวนประชากรของการศึกษาที่แน่นอน (กมลพิพัฒน์
               ชนะสิทธิ์ และประสพชัย พสุนนท์, 2559) แต่เมื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล จึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทีไม่
                                                                                                       ่
               ตรงกับฐานข้อมูล จึงทราบว่าข้อมูลดังกล่าวมีการสำรวจถึงปี พ.ศ. 2559 จึงใช้ข้อมูลจากกลุ่มพฒนานวัตกรรม
                                                                                             ั
               ดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์
               ผ่านแอปพลิเคชัน “ท่องเที่ยวเชิงเกษตร” โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจากจังหวัดที่

               เป็นกลุ่มตัวอย่างและจังหวัดใกล้เคียง พบว่า ข้อมูลที่ค้นพบบางสถานที่เป็นการจัดแสดงตามนโยบายรัฐบาล
               หรือตามเทศกาล บางสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่สถานที่จริงเป็น การท่องเที่ยว

               รูปแบบอื่น เช่น การจัดแสดงศิลปะโบราณ การท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านแอป

               พลิเคชัน “Google Map” สืบค้นคำว่า “แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ สรุปการวิจัย
               และสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับผู้ประกอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72