Page 70 -
P. 70
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
54
ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ด้วย
ระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน ประกอบด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบธุรกิจมากว่า 5-10 ปี จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการทางการศึกษา อายุ
งาน 1-5 ปี จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับปฏิบัติการ จำนวน 15 คน เพื่อให้มุมมองที่แตกต่าง
เกี่ยวนโยบายการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยการทบทวนรูปแบบที่สำคัญสำหรับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิง
เกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 เกี่ยวกับนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิง
เกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้แก่ ผู้ประกอบการ นักวิชาการ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีส่วนได้เสีย (เก็จกนก เอื้อวงศ์, 2562) ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการทบทวข้อมูลและ
จัดทำร่างข้อเสนอแนะแนวนโยบาย
ระยะที่ 4 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เมื่อได้จัดทำร่างข้อเสนอแนะ
แนวนโยบายจากระยะที่ 3 แล้ว การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Search Conference) โดยคณะนักวิจัยจะเชิญ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2564 ด้วยระบบ
ออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ประกอบด้วย
จำนวน 35 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบธุรกิจมากว่า 10 ปี จำนวน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญด้าน
วิชาการทางการศึกษา อายุงาน มากกว่า 5 ปี หรือระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขึ้นไป จำนวน 15 คน และ
เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับผู้บริหาร จำนวน 5 คน เพื่อให้มุมมองระดับบริหารในการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต โดยการหาฉันทามติและแก้ไขร่าง
ข้อเสนอแนะแนวนโยบายนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่
ระบาดของ Covid-19 ทำการระดมความคิดเห็นในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิง
นโยบาย (Schafft & Greenwood, 2003)